ศาลรัฐธรรมนูญ:ควบคุมหรือครอบงำ

ศาลรัฐธรรมนูญ จากองค์กรที่มีหน้าที่ในการตีความกฎหมายอย่างเป็นกลางเพื่อธำรงไว้ซึ่งระบอบการเมืองที่เสถียรภาพ สู่องค์กรที่มีอำนาจควบคุมพลิกแพลงทิศทางการเมือง อันเห็นได้จากเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอาจกล่าวได้ว่า จุดมุ่งหมายขององค์กรนั้นได้ผันแปรไปจากเดิมเป็นอย่างมาก ดังเช่นที่มีการยุบพรรคการเมือง และปลดนายกออกจากตำแหน่งในช่วงที่เพิ่งจะผ่านมาได้ไม่นาน

Recap ศาลรัฐธรรมนูญ: วินิจฉัยเศรษฐาพ้นนายกฯ ประเทศไทยเอาไงต่อ

เพียงไม่กี่วันหลังจากพรรคก้าวไกลถูกยุบ ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีคำวินิจฉัย 5-4 เสียงให้ความเป็นรัฐมนตรีของเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลง ส่งผลให้เศรษฐาต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทันที นำไปสู่แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในแวดวงการเมืองไทยอีกครั้ง  เราจะพาไป recap กันว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้างและจะพาไปดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการเมืองไทยต่อจากนี้ Recap: เมื่อวานนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย 5-4 เสียงให้ความเป็นรัฐมนตรีของเศรษฐา ทวีสินสิ้นสุดลงตามมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) (5) ของรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้เศรษฐาต้องพ้นจากการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย หลังดำรงตำแหน่งได้ 358 วัน คำตัดสินดังกล่าวมีขึ้นเพียงไม่ถึงสัปดาห์หลังจากมีการวินิจฉัยให้ยุบพรรคก้าวไกลจากการเสนอนโยบายแก้ไขมาตรา 112  เหตุการณ์ที่นำไปสู่จุดจบของรัฐบาลเศรษฐาในวันนี้คือการแต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พิชิตเคยถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 6 เดือนฐานละเมิดอำนาจศาลจากการพยายามติดสินบนเจ้าหน้าที่ของศาลเป็นเงินกว่า 2 … Continued

เสียงสะท้อนจากรัฐสภา: ทำไมไม่พอใจในสิ่งที่เป็น แค่สมรสเท่าเทียมก็เพียงพอแล้วไม่ใช่หรือ?

การต่อสู้เพื่อสิทธิของกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQIAN+ ในประเทศไทยมีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทั้งยังอาศัยความพยายาม ความกล้าหาญ ตลอดจนการเสียสละอย่างมหาศาลจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาครัฐ ฯลฯ กว่าทศวรรษแห่งการร่วมกันเปล่งเสียงร้องเรียกสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงมี ในที่สุดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมได้ผ่านการเห็นชอบจากวุฒิสภาและเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนประกาศใช้ต่อไปเป็นที่เรียบร้อย ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) และประเทศที่สามในเอเชียถัดจากไต้หวันและเนปาลที่มีการรับรองกฎหมายสมรสเท่าเทียมอย่างเป็นทางการ  อย่างไรก็ดี การที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่านการเห็นชอบจากวุฒิสภาไม่ได้หมายความถึงการบัญญัติกฎหมายและการนำไปบังคับใช้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากสมรสเท่าเทียมได้ยืนยันสิทธิอย่างเป็นรูปธรรมในการตระหนักถึงความเป็นมนุษย์อย่างเสมอภาคผ่านการคืนสิทธิและให้ความคุ้มครองทางกฎหมายต่าง ๆ แก่บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ อาทิเช่น สิทธิในการรับบุตรบุญธรรม สิทธิการสืบทอดมรดก สิทธิในการตัดสินใจทางการรักษาพยาบาล สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส สิทธิในการได้รับสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส ที่สำคัญที่สุดและเป็นใจความหลักคือ ‘สิทธิในการสมรส’ ไม่ว่าจะมีรสนิยมทางเพศอย่างไร อัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายขนาดไหน มีวิถีทางและการแสดงออกซึ่งต่างไปจากปทัสถานที่สังคมพร่ำบอกว่าถูกต้องเพียงใด มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะรักและสามารถเลือกคู่ครองเป็นของตนเอง มีที่ทางในสังคมอันเป็นพื้นที่ปลอดภัย รวมทั้งได้รับการคุ้มครองอย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ต่างจากคู่รักตรงเพศ … Continued

เรื่องเล่าหลายหน้าของสองชุมชนแห่งกุหลาบแดงและซอยพระเจนที่ยังไม่มีบทอวสาน

ผู้คน – ชุมชน – ข้างบน องค์ประกอบที่ไม่ลงรอยกัน ตอน 2 บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสิงห์ดำพาไปเจอ “ปทุมวันฟิลด์ทริป” โดยฝ่ายพัฒนาสังคม สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ข้อมูลบางส่วนที่ปรากฏในบทความเป็นความเห็นตามความเข้าใจของผู้ให้สัมภาษณ์สลับการสังเกตวิเคราะห์ของผู้เขียน หลังจากที่เราได้เดินทางออกมาจากชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ (เนื้อหาอยู่ในตอน 1) ก็เริ่มการเดินเท้าต่อใช้เวลาไม่นานประมาณ 5 นาที ถึงชุมชนกุหลาบแดงที่บรรยากาศดูร่มเย็นกว่าชุมชนบ่อนไก่ที่เพิ่งได้ไปมา ชุมชนกุหลาบแดงของคุณกุหลาบ? เราได้เข้าไปยังสุดซอยกลางของชุมชนกุหลาบแดงโดยคำอนุญาตของพี่หนิง ผู้ดูแลประสานงานของชุมชน ระหว่างทางเธอชี้ให้เห็นถึงจุดที่ถูกไฟไหม้และมีการตั้งสังกะสีล้อมพื้นที่ไว้เป็นเครื่องแสดงว่าเป็นพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ไม่มีผู้ใดสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้เว้นแต่จะขอจัดกิจกรรมใด ๆ เป็นรายกรณี พี่หนิงเรียกพี่เหน่งให้ออกมาจาก “บ้าน” หลังสีเขียวที่ข้างหน้ามีประตูเหล็กสีแดงและผ้ากันแสงจากภายนอกสีดำทึบ เพื่อช่วยให้ข้อมูลกับเรา เช่นเดียวกันกับป้านุ้ยที่เราพบที่ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ พี่เหน่งก็ประกอบอาชีพเป็นแม่บ้านในสำนักงานย่านคลองเตย เดินทางด้วยรถเมล์ไม่นานก็ถึง … Continued

การเดินทางของแมวลายสลิดประจบชุมชนบ่อนไก่

ผู้คน – ชุมชน – ข้างบน องค์ประกอบที่ไม่ลงรอยกัน ตอน 1 *บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสิงห์ดำพาไปเจอ “ปทุมวันฟิลด์ทริป” โดยฝ่ายพัฒนาสังคม สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ข้อมูลบางส่วนที่ปรากฏในบทความเป็นความเห็นตามความเข้าใจของผู้ให้สัมภาษณ์สลับกับการสังเกตวิเคราะห์ของผู้เขียน การลงพื้นที่ไปยังชุมชนนี้เป็นการลงพื้นที่ครั้งแรกในชีวิตของเรา สตาฟนัดหมายผู้เข้าร่วมที่หอนาฬิกาสวนลุมพินีตั้งแต่ 9 โมงเช้า แดดยังไม่แรงมาก มีลมแผ่วๆ พัดใบไม้ปลิวหล่นลงมาเป็นระยะ เรานั่งเป็นกลุ่มตามสีต่างๆ ที่ได้แบ่งเอาไว้ พร้อมรับฟังการอธิบายกำหนดการ โดยจะเริ่มจากการเยือนชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ ชุมชนกุหลาบแดง และชุมชนซอยพระเจนตามลำดับ ในชุดบทความนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยชุมชนพัฒนาบ่อนไก่จะจัดอยู่ในบทความตอนแรกนี้ ส่วนชุมชนกุหลาบแดง และชุมชนซอยพระเจน จะอยู่ในตอนที่ 2 … Continued

เรื่องราวของ ‘ป้าอัญชัญ’ กับการจำคุกยาวนานเป็นประวัติศาสตร์ เพียงเพราะแชร์คลิปเสียงประเด็นการเมือง 

อัญชัญ ปรีเลิศ หรือ ‘ป้าอัญชัญ’ อดีตข้าราชการวัยเกษียณ ผู้ถูกตัดสินให้ต้องโทษจำคุกเป็นเวลา 87 ปี จากกรณีแชร์คลิปเสียงของดีเจผู้จัดรายการใต้ดินรายหนึ่งผู้ใช้นามแฝงว่า ‘บรรพต’  ซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองและสถาบันกษัตริย์ ส่งผลให้เข้าข่ายคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากการถูกหมิ่นประมาท หรือถูกอาฆาตมาตร้าย โดยบรรพตนั้นทำคลิปลักษณะนี้มาแล้วกว่า 1,000 คลิป ทว่ากลับถูกดำเนินคดีเพียงแค่ 1 กรรมเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามกับป้าอัญชัญ ที่เพียงแชร์คลิปเพราะอยากช่วยเท่าที่จะช่วยได้ รวมแล้วกว่า 29 กรรม ซึ่งหมายถึง ตำรวจได้นำการแชร์ 29 คลิปมาดำเนินคดี หรือการใช้อัตราโทษคูณด้วยจำนวนกรรม ทำให้ป้าอัญชัญได้รับโทษสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด  อิสรภาพชั่วคราว กับความยุติธรรมที่สูญหายไป ด้วยช่องว่างทางกฎหมายทำให้ช่วงระหว่างการพิจารณาคดีของป้าอัญชัญนำมาซึ่งความสูญเสียทางอิสรภาพที่ไม่ควรเสียตั้งแต่แรกเริ่ม กล่าวคือ … Continued

ขอโทษ ขอโทษ ขอโทษ

ขอโทษปุ๊ปจบปั๊ป ? : ส่องแง่มุมต่าง ๆ ของการขอโทษ ผู้อ่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า ตั้งแต่เรามีลมหายใจและใช้ชีวิตอยู่เรื่อยมาตั้งแต่เด็กจนโต เราพูดคำว่า “ขอโทษ” ไปแล้วกี่ครั้ง แล้วทำไมเราถึง “ต้อง” ขอโทษในเรื่องที่เราพลั้งพลาดไปด้วย คำถามนี้เกิดขึ้นในตัวผู้เขียนในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งเราจะเห็นนักการเมืองต่างออกมาพูดขอโทษ ขอโทษ และก็ขอโทษ จนอาจนับได้ว่ากลายเป็นแม่พิมพ์ยอดฮิตผลิตซ้ำของเหล่านักการเมืองเวลาพวกเขาทำผิดหรือทำในสิ่งที่ไม่ดีลงไป กลายเป็นความเคยชินของคนโดยทั่วไปแล้วว่า “อ๋อ ก็ขอโทษแล้วก็ให้จบ ๆ ไป” จากวลีดังกล่าวซึ่งผู้เขียนได้ยินมานั้น คำถามก็ผุดขึ้นมาว่า แค่ทำหน้าเศร้า พูดว่าขอโทษ แล้วเรื่องก็จบอย่างง่ายดายเช่นนั้นหรือ และมองฉากทัศน์ถัดต่อไปว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำพลาดไปนั้นจะได้รับการเยียวยาหรือแก้ไขอย่างยั่งยืนได้อย่างไร การขอโทษคืออะไร และขอโทษทำไม แม้ในแวดวงวิชาการยังไม่มีความเห็นพ้องว่า “ขอโทษ” นั้นมีความหมายว่าอย่างไร แต่หากผู้เขียนย้อนกลับไปตอนยังเด็ก เมื่อเราทำผิดไป คุณครูก็มักจะให้เราพูดขอโทษและให้สัญญาว่าจะไม่ทำผิดเช่นนั้นอีก ในตอนนั้น … Continued

เป็นคนพิการ ต้องพิสูจน์

: รัฐไทยกับการจัดสรรคุณภาพชีวิตให้แก่ “คน” พิการ ภายใต้ระบบราชการแบบไทยๆ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้พิการมากกว่า 4 ล้านคน (จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2565) แต่มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิการทั้งหมดไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้พิการตามกฎหมาย เพียงเพราะพวกเขา “พิการยังไม่พอ” แม้จะมีการออกกฎหมายและการให้สัตยาบันในปฏิญญารับรองสิทธิและศักดิ์ศรีของผู้พิการ ถึงกระนั้นพวกเขายังถูกมองว่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคำว่า “คน” ในสังคม รายงานการสำรวจความพิการ พ.ศ. 2565 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ระบุว่า ในไทยมีผู้พิการกว่า 4.19 ล้านคน หรือคิดเป็น 6% ของประชากรทั้งหมด และมีเพียง 42.6% ของผู้พิการทั้งหมดเท่านั้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนคนพิการ พวกเขาเหล่านี้จะได้สิทธิ์รับเบี้ยความพิการแค่ราว 800-1,000 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตาม มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนของผู้พิการที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนนั้นไม่ต้องการขึ้นทะเบียนเป็นผู้พิการ ซึ่งอาจเป็นเพราะขั้นตอนทางเอกสารที่ยุ่งยาก … Continued

19กันยายน2549

ย้อนไปในวันนี้เมื่อ 17 ปีที่แล้ว ในเวลาราวสี่ทุ่มหน่วยทหารขนาดใหญ่เคลื่อนกำลังออกจากกองบัญชาการกองทัพบกไทย ถนนราชดำเนินนอก ลงมาตามถนนราชดำเนิน ยานยนต์หุ้มเกราะมากมายเคลื่อนที่กระจายกำลังกันไปตามจุดสำคัญต่างๆ ของกรุงเทพ ไม่เว้นเเม้เเต่หน้าพระราชวังสวนจิตรลดา.ภาพรถถังเเละกองทหารเหล่านี้เป็นที่คุ้นตาสำหรับการเมืองเเบบไทย ๆ ซึ่งผ่านการรัฐประหารทั้งที่สำเร็จเเละไม่สำเร็จมาอย่างโชกโชน เเละการรัฐประการในแต่ละครั้งจะมีรูปเเบบการปฏิบัติการที่คล้ายกัน อย่างการใช้อำนาจวิเศษนอกเหนือรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดการและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลที่บริหารงานอยู่และรวมไปถึงกฎหมายสูงสุดของประเทศ.เหตุการณ์ครั้งนั้นทำไมถึงเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบจนถึงวันนี้?เเน่นอนว่าการรัฐประหารก่อให้เกิด ความเปลี่ยนเเปลงด้านต่าง ๆ ต่อประเทศเเละสังคมมากมาย เหตุการณ์ครั้งนี้ก็ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง แต่สิ่งที่เเตกต่างประการหนึ่งคือ รัฐธรรมนูญที่ถูกประกาศยกเลิกใช้ไปคือรัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ.2540.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับพ.ศ.2540 ถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่งในประวัติศาสตร์ เพราะรัฐธรรมนูญมีการถ่วงดุลอำนาจกันระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ ที่เข้มข้นขึ้นอย่างมากจากการจัดตั้งองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ฯลฯ.แต่ทว่าเมื่อรัฐธรรมนูญถูก ”ฉีก” สิ่งที่ไม่ได้หายไปคือองค์กรอิสระต่าง ๆ และกลับกันองค์กรอิสระเหล่านี้ยิ่งถูกบิดเบือนโดยฝ่ายรัฐประหาร อำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบฝ่ายอื่น ๆ ขององค์กรเหล่านี้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง เเละการกระทำเช่นนี้ดำเนินเรื่อยมาจนกระทั่งการเมืองในยุคปัจจุบัน … Continued

หนี้ครัวเรือนไทย

หนี้ครัวเรือนไทย ระเบิดทางเศรษฐกิจไทยที่รัฐบาลต้องเก็บกู้อย่างเร่งด่วน? หนี้ครัวเรือนไทยทำไมถึงเป็นเรื่องใหญ่? หนี้ครัวเรือน คือ เงินที่บุคคลธรรมดากู้ยืมจากสถาบันทางการเงินทั้งในเเละนอกระบบเพื่อนำไปลงทุนในธุรกิจหรือการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และส่วนใหญ่เกิดจากการใช้จ่ายเป็นจำนวนมากกว่ารายได้ที่ได้รับ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา . หนี้สินภาคครัวเรือนไทยอยู่ที่ระดับ 90.6% ของ GDP อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้ไม่ได้น่าเป็นห่วงสักเท่าไร เพราะมีอีกหลายประเทศในโลกที่มีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงกว่านี้ เช่น เกาหลีใต้ เเละเเคนาดา . สิ่งที่น่าเป็นห่วงคืออะไร? สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งของหนี้จำนวนเท่านี้ คือ หนี้ส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืมที่ไม่ใช่การลงทุน (กู้ยืมแล้วไม่ก่อให้เกิดรายได้) คิดเป็นจำนวนถึง 72% ของหนี้ทั้งหมด ซึ่งมีเเนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนี้ส่วนนี้กว่าครึ่งคือหนี้จากการซื้อบ้านเเละอีก 1 ใน 3 คือหนี้จากการซื้อรถ ซึ่งต่างจากช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่หนี้สินส่วนใหญ่เป็นการกู้เพื่อการลงทุนในระบบเศรษฐกิจ . ปัญหาที่เกิดตามมาคือการที่ครัวเรือนไม่มีศักยภาพที่จะชำระหนี้ทั้งเงินต้นเเละดอกเบี้ยได้ทันกำหนด … Continued