You’re not my King: การเสด็จเยือนออสเตรเลียของคิงชาร์ลส์ที่เต็มไปด้วยเครื่องหมายคำถาม

เมื่อวันที่ 18-22 ตุลาคมที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนออสเตรเลียอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ และยังเป็นครั้งแรกในรอบ 13 ปีที่พระมหากษัตริย์ของอังกฤษเสด็จเยือนออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม กระแสตอบรับจากประชาชนก็ไม่ได้มีแค่ความปลื้มปิติ หากแต่ยังมีความรู้สึกไม่พอใจไปจนถึงไม่ต้องการกษัตริย์อีกต่อไป นำไปสู่ประเด็นถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมออสเตรเลีย

อะไรทำให้ชาวออสเตรเลียเสียงแตกกับการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้?

On This Day: 2 พฤศจิกายน 2561 ยกเลิกดาว เดือน ดาวเทียม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รู้หรือไม่ว่า ครั้งหนึ่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ก็เคยมีดาว เดือน ดาวเทียม มาก่อน ซึ่งกิจกรรมนี้ได้ถูกยกเลิกลงไปด้วยประชามติของนิสิตชั้นปี 1 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ในคาบเรียนรายวิชา LOG REAS SOC INQY ท่ามกลางการถกเถียงกันระหว่างฝ่ายที่เห็นชอบให้คงอยู่และฝ่ายเสนอให้ยกเลิก

ควันหลง “โอลิมปิกเกมส์” กับแรงบันดาลใจที่ไม่เคยมีคำว่า “สายเกินไป”

posted in: ทั่วไป | 0

ในปี 2567 ได้มีการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่จะวนมาสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมทั่วโลกในทุก ๆ 4 ปี อย่าง “โอลิมปิกเกมส์” หรือหากจะเจาะจงมากยิ่งขึ้นก็คือ การแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน ซึ่งในครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 33 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม ถึง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2567 มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันประมาณ 10,500 คน จาก 206 ประเทศทั่วโลก โดยมีการแข่งขัน 32 ประเภทชนิดกีฬา รวม 329 รายการ (329 เหรียญทอง) สำหรับประเทศไทยมีนักกีฬาที่คว้าตั๋วโอลิมปิกในครั้งนี้ทั้งสิ้น 51 คน … Continued

ศาลรัฐธรรมนูญ:ควบคุมหรือครอบงำ

ศาลรัฐธรรมนูญ จากองค์กรที่มีหน้าที่ในการตีความกฎหมายอย่างเป็นกลางเพื่อธำรงไว้ซึ่งระบอบการเมืองที่เสถียรภาพ สู่องค์กรที่มีอำนาจควบคุมพลิกแพลงทิศทางการเมือง อันเห็นได้จากเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอาจกล่าวได้ว่า จุดมุ่งหมายขององค์กรนั้นได้ผันแปรไปจากเดิมเป็นอย่างมาก ดังเช่นที่มีการยุบพรรคการเมือง และปลดนายกออกจากตำแหน่งในช่วงที่เพิ่งจะผ่านมาได้ไม่นาน

On This Day: 6 ตุลาคม 2563 เปิดห้องวิชิตชัย ความสำเร็จก้าวแรกแห่งการบูรณะตึกกิจกรรมนิสิต

ในทุกปี หลากหลายองค์กรต่างรำลึกถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เองก็ได้ให้ความสำคัญกับวันดังกล่าวอย่างมาก ผ่านทั้งการจัดงานเสวนาที่เชิญบุคคลสำคัญทางการเมืองจากต่างประเทศจนกลายเป็นข่าวดังไปทั่วโลก กระทั่งการทุ่มทุนบูรณะตึกกิจกรรมนิสิต การจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ธรรมศาสตร์โดยสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ถูกจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2559 ในครั้งนั้นมีการเชิญโจชัว หว่อง นักกิจกรรมชาวฮ่องกง มากล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “การเมืองของคนรุ่นใหม่”1 แต่โจชัว หว่อง กลับถูกรัฐบาลไทยกักตัวที่ท่าอากาศยาน ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมงานได้ เหตุการณ์นั้นทำให้เกิดกระแสข่าวไปทั่วโลก2 และทำให้โจชัว หว่อง กลายเป็นที่สนใจของสังคมไทยในวงกว้าง 4 ปีต่อมา ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563 สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ได้จัดพิธีเปิดห้องประชุมวิชิตชัย อมรกุล และห้องอเนกประสงค์ … Continued

On This Day: 21 กันยายน 2562 “เสียงเล็กๆ ที่ไม่ดัง” วิจารณ์กิจกรรม Back to School

รู้หรือไม่ วันนี้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว (21 กันยายน 2562) สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์กรณีจัดกิจกรรม Back to School โดยผู้เขียนนามปากกา “เสียงเล็กๆ ที่ไม่ดัง” ได้เขียนบทความชื่อ “โลกจะแตก น้ำจะท่วมโลก แต่สโมฯ รัฐศาสตร์ยังจัดกิจกรรมไร้อนาคต” ผ่านเว็บไซต์ “ประชาไท” จนมีการนำไปสู่การโต้แย้งกันผ่านบทความที่มีการนำไปสู่การถกเถียงเชิงแนวคิด อุดมการณ์และการโจมตีตัวบุคคล

Recap ศาลรัฐธรรมนูญ: วินิจฉัยเศรษฐาพ้นนายกฯ ประเทศไทยเอาไงต่อ

เพียงไม่กี่วันหลังจากพรรคก้าวไกลถูกยุบ ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีคำวินิจฉัย 5-4 เสียงให้ความเป็นรัฐมนตรีของเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลง ส่งผลให้เศรษฐาต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทันที นำไปสู่แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในแวดวงการเมืองไทยอีกครั้ง  เราจะพาไป recap กันว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้างและจะพาไปดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการเมืองไทยต่อจากนี้ Recap: เมื่อวานนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย 5-4 เสียงให้ความเป็นรัฐมนตรีของเศรษฐา ทวีสินสิ้นสุดลงตามมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) (5) ของรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้เศรษฐาต้องพ้นจากการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย หลังดำรงตำแหน่งได้ 358 วัน คำตัดสินดังกล่าวมีขึ้นเพียงไม่ถึงสัปดาห์หลังจากมีการวินิจฉัยให้ยุบพรรคก้าวไกลจากการเสนอนโยบายแก้ไขมาตรา 112  เหตุการณ์ที่นำไปสู่จุดจบของรัฐบาลเศรษฐาในวันนี้คือการแต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พิชิตเคยถูกศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 6 เดือนฐานละเมิดอำนาจศาลจากการพยายามติดสินบนเจ้าหน้าที่ของศาลเป็นเงินกว่า 2 … Continued

เสียงสะท้อนจากรัฐสภา: ทำไมไม่พอใจในสิ่งที่เป็น แค่สมรสเท่าเทียมก็เพียงพอแล้วไม่ใช่หรือ?

การต่อสู้เพื่อสิทธิของกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQIAN+ ในประเทศไทยมีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทั้งยังอาศัยความพยายาม ความกล้าหาญ ตลอดจนการเสียสละอย่างมหาศาลจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาครัฐ ฯลฯ กว่าทศวรรษแห่งการร่วมกันเปล่งเสียงร้องเรียกสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงมี ในที่สุดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมได้ผ่านการเห็นชอบจากวุฒิสภาและเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนประกาศใช้ต่อไปเป็นที่เรียบร้อย ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) และประเทศที่สามในเอเชียถัดจากไต้หวันและเนปาลที่มีการรับรองกฎหมายสมรสเท่าเทียมอย่างเป็นทางการ  อย่างไรก็ดี การที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่านการเห็นชอบจากวุฒิสภาไม่ได้หมายความถึงการบัญญัติกฎหมายและการนำไปบังคับใช้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากสมรสเท่าเทียมได้ยืนยันสิทธิอย่างเป็นรูปธรรมในการตระหนักถึงความเป็นมนุษย์อย่างเสมอภาคผ่านการคืนสิทธิและให้ความคุ้มครองทางกฎหมายต่าง ๆ แก่บุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ อาทิเช่น สิทธิในการรับบุตรบุญธรรม สิทธิการสืบทอดมรดก สิทธิในการตัดสินใจทางการรักษาพยาบาล สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส สิทธิในการได้รับสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส ที่สำคัญที่สุดและเป็นใจความหลักคือ ‘สิทธิในการสมรส’ ไม่ว่าจะมีรสนิยมทางเพศอย่างไร อัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายขนาดไหน มีวิถีทางและการแสดงออกซึ่งต่างไปจากปทัสถานที่สังคมพร่ำบอกว่าถูกต้องเพียงใด มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะรักและสามารถเลือกคู่ครองเป็นของตนเอง มีที่ทางในสังคมอันเป็นพื้นที่ปลอดภัย รวมทั้งได้รับการคุ้มครองอย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ต่างจากคู่รักตรงเพศ … Continued

On This Day: 12 มิถุนายน 2565 สโมฯ รัฐศาสตร์ยกเลิกคำนำหน้าชื่อ

posted in: ทั่วไป | 0

สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประกาศขอยกเลิกการใช้คำนำหน้า (นาย/นางสาว) ในเอกสารภายในทุกหน่วยงานของสโมสรนิสิตฯ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2565 หลังนายกสโมสรฯ ได้ลงนามในประกาศสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ข้อตกลงการทำงานร่วมกัน สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยข้อ 4 ได้บัญญัติว่า “ให้ยกเลิกการใช้คํานําหน้า ได้แก่ นาย หรือ นางสาว ในเอกสารภายในสโมสรนิสิตฯ” ประกาศฉบับดังกล่าวได้สืบเนื่องมาจากมติในการประชุมคณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ สมัยสามัญ ครั้งที่ 2 / 2565 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2565 ก่อนหน้านั้น 8 วัน คือ วันที่ … Continued

เรื่องเล่าหลายหน้าของสองชุมชนแห่งกุหลาบแดงและซอยพระเจนที่ยังไม่มีบทอวสาน

ผู้คน – ชุมชน – ข้างบน องค์ประกอบที่ไม่ลงรอยกัน ตอน 2 บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสิงห์ดำพาไปเจอ “ปทุมวันฟิลด์ทริป” โดยฝ่ายพัฒนาสังคม สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ข้อมูลบางส่วนที่ปรากฏในบทความเป็นความเห็นตามความเข้าใจของผู้ให้สัมภาษณ์สลับการสังเกตวิเคราะห์ของผู้เขียน หลังจากที่เราได้เดินทางออกมาจากชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ (เนื้อหาอยู่ในตอน 1) ก็เริ่มการเดินเท้าต่อใช้เวลาไม่นานประมาณ 5 นาที ถึงชุมชนกุหลาบแดงที่บรรยากาศดูร่มเย็นกว่าชุมชนบ่อนไก่ที่เพิ่งได้ไปมา ชุมชนกุหลาบแดงของคุณกุหลาบ? เราได้เข้าไปยังสุดซอยกลางของชุมชนกุหลาบแดงโดยคำอนุญาตของพี่หนิง ผู้ดูแลประสานงานของชุมชน ระหว่างทางเธอชี้ให้เห็นถึงจุดที่ถูกไฟไหม้และมีการตั้งสังกะสีล้อมพื้นที่ไว้เป็นเครื่องแสดงว่าเป็นพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ไม่มีผู้ใดสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้เว้นแต่จะขอจัดกิจกรรมใด ๆ เป็นรายกรณี พี่หนิงเรียกพี่เหน่งให้ออกมาจาก “บ้าน” หลังสีเขียวที่ข้างหน้ามีประตูเหล็กสีแดงและผ้ากันแสงจากภายนอกสีดำทึบ เพื่อช่วยให้ข้อมูลกับเรา เช่นเดียวกันกับป้านุ้ยที่เราพบที่ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ พี่เหน่งก็ประกอบอาชีพเป็นแม่บ้านในสำนักงานย่านคลองเตย เดินทางด้วยรถเมล์ไม่นานก็ถึง … Continued