You’re not my King: การเสด็จเยือนออสเตรเลียของคิงชาร์ลส์ที่เต็มไปด้วยเครื่องหมายคำถาม

เมื่อวันที่ 18-22 ตุลาคมที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนออสเตรเลียอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ และยังเป็นครั้งแรกในรอบ 13 ปีที่พระมหากษัตริย์ของอังกฤษเสด็จเยือนออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม กระแสตอบรับจากประชาชนก็ไม่ได้มีแค่ความปลื้มปิติ หากแต่ยังมีความรู้สึกไม่พอใจไปจนถึงไม่ต้องการกษัตริย์อีกต่อไป นำไปสู่ประเด็นถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมออสเตรเลีย

อะไรทำให้ชาวออสเตรเลียเสียงแตกกับการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้?

รักสีเลือดครั้งที่ 4 ของเจียงชิงและเหมาเจ๋อตง

จะเป็นไปได้หรือไม่ว่าด้วยการเมืองนั้นจะสามารถมาบรรจบพบเจอกับความรักได้ จะเป็นไปได้หรือไม่ว่าด้วยความรักนั้นจะนำพาไปสู่หายนะและการนองเลือดครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ นั่นก็คือกลเกมรัก (สีเลือด) และการเมือง ของเจียงชิงและเหมา เจ๋อตง เจียงชิง (Jiang Qing) หรือที่มักได้รับการขนานนามว่า “มาดามเหมา” ภรรยาคนที่ 4 ของเหมา เจ๋อตง เธอเผชิญกับวัยเด็กที่ขมขื่นด้วยชีวิตความเป็นอยู่และครอบครัวที่ไม่สุขสมบูรณ์ เจียงชิงมีนิสัยที่หาญกล้าแต่แข็งทื่อ อดทนแต่หยิ่งยโส อิสระเสรีแต่ใจแคบ ร่าเริงแต่เอาใจยาก ทะเยอทะยานแต่พยาบาทและอาฆาตแค้น ท่ามกลางนิสัยที่สลับซับซ้อนไม่มีใครคาดเดาได้ เธอโดดเด่นและสวยงามบนเวทีนับตั้งแต่เธอเข้าร่วมโรงละครการแสดงเมื่อครั้งอายุได้ 7 ปี เธอย้ายข้าวของออกจากเมืองชิงเต่า (Qingdao) มายังเซี่ยงไฮ้ ที่ซึ่งเต็มไปด้วยศิลปะและวัฒนธรรมย่อยมากมาย การแสดงตัวละคร “โนรา” จากเรื่อง “A Doll’s House” ทำให้เจียงชิงเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะนักแสดงอาชีพ และในขณะเดียวกัน หลังเธอเริ่มมีสัมพันธ์กับคู่สมรสที่มีความคิดสนับสนุนคอมมิวนิสต์ และการพบกับ … Continued

เสียงสะท้อนที่เงียบงัน : การต่อสู้กับความอยุติธรรมและระบอบกษัตริย์เอสวาตินีที่มีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญของทูลานี มาเซโกะ (Thulani Maseko) 

ทูลานี มาเซโกะ (Thulani Maseko) เป็นทนายความและนักกิจกรรมผู้ซึ่งเคลื่อนไหวเรียกร้องในประเด็นสิทธิมนุษยชนในประเทศเอสวาตินี ในฐานะประชาชนที่เติบโตในเอสวาตินี เขาสังเกตเห็นความเหลื่อมล้ำและความผิดปกติของกระบวนการยุติธรรมมาโดยตลอด โดยเขาได้วิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐและกฎหมายปราบปรามของเอสวาตินีอย่างเปิดเผย  เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566 ทูลานี ถูกยิงเสียชีวิตผ่านทางหน้าต่างบ้านของเขา สถานที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเงียบสงบ เป็นส่วนตัว และเปี่ยมไปด้วยความรักที่ทูลานีมีต่อภรรยาและลูก ๆ ต้องกลายเป็นจุดจบชีวิตของเขาอย่างน่าสะเทือนใจ  ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าสลดใจนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตี ที่ 3 (King Mswati III) ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่สังคมลืมไม่ลงไว้ว่า “ผู้ที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปประชาธิปไตยจะต้องถูกจัดการ ประชาชนไม่ควรหลั่งนํ้าตากับความตายของพวกพวกนักเรียกร้องประชาธิปไตยเหล่านั้น และไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์ทหารรับจ้างคนใดที่ฆ่าพวกเขาไป” เหตุการณ์นี้ถูกมองว่าเป็นเพียงการเชือดไก่ให้ลิงดูจากฝั่งรัฐบาล เพื่อส่งสัญญาณเตือนบรรดานักเคลื่อนไหวที่ออกมาต่อต้านรัฐบาล  สำหรับประเทศเอสวาตินี หรือชื่อเดิมคือ สวาซิแลนด์ เป็นเพียงไม่กี่ประเทศในแอฟริกาที่ยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้การนำของกษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 แห่งราชวงศ์ดลามี … Continued

Uncle Pabai and Uncle Paul : ลมหายใจเฮือกสุดท้ายก่อนที่บ้านจะหายไปตลอดกาล

ภัยคุกคามโลก “ภาวะโลกรวน (Climate Change)” คือ ความแปรปรวนของสภาพอากาศเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอย่างไม่มีท่าทีว่าจะควบคุมได้ อารยธรรมที่วิวัฒนาการไปข้างหน้าเรื่อยๆ กลับสร้างผลเสียให้กับโลกในความเร็วที่วิ่งตามไม่ห่างกันเท่าไหร่นัก และที่น่าเศร้าไปยิ่งกว่านั้นคือชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเป็นกลุ่มแรกๆ กลับกลายเป็นชุมชนที่มีส่วนต้องรับผิดชอบต่อภาวะโลกรวนน้อยที่สุดไปเสียอย่างนั้น ภาวะโลกรวนที่เกิดอยู่ในขณะนี้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ทั้งทำให้น้ำร้อนขึ้นและขยายตัว และยังทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย สองปัจจัยนี้ได้ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นทุกปีอย่างไม่มีทีท่าว่าจะชะลอลง ส่งผลให้ทุกเกาะทั่วโลกได้รับผลกระทบอันแสนสาหัสต่อสภาพความเป็นอยู่บนเกาะตามมา ซึ่งเกาะ Guda Maluyligal คือหนึ่งในนั้น ลุงพาไบและลุงพอล พวกเขาทั้งคู่เป็นผู้นำชุมชนจาก Guda Maluyligal เกาะแห่งหนึ่งบริเวณช่องแคบทอร์เรส (Torres Strait) ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นด่านหน้าในการรับมือกับผลกระทบจากภาวะโลกรวน และปัญหาการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล  ปัญหาที่ชาว Guda Maluyligal กำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้ คือ ระดับน้ำทะเลที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 3 เมตร นั่นหมายถึง … Continued

เพื่อลูกชายที่สูญเสีย เพื่อสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรม : อานา มาเรีย ซานโตส ครูซ (Ana Maria Santos Cruz) จากแม่ธรรมดาสู่นักเรียกร้องสิทธิมนุษยชน

ในบราซิลขณะนี้ ยังคงมีแม่คนหนึ่งกำลังเรียกร้องความยุติธรรมให้กับลูกชายผู้ล่วงลับของเธอ แรกเริ่มชีวิตของอานา ก็เหมือนชีวิตของใครหลายๆ คน เธอเป็นแม่ธรรมดาๆ คนหนึ่ง ผู้มีความสุขกับเสียงดนตรี และใช้เวลาว่างของเธอไปเที่ยวงานคอนเสิร์ตและอีเวนต์ต่างๆ กับลูกสาวในเมืองซัลวาดอร์ ประเทศบราซิล ลูกชายของเธอ เปโดร เฮนริค (Pedro Henrique) เป็นนักเคลื่อนไหวด้านความยุติธรรมทางเชื้อชาติและสิทธิมนุษยชน เขาได้จัดกิจกรรมชื่อ ‘การเดินเพื่อสันติภาพ’ ขึ้นในเมืองทูคาโน รัฐบาเฮีย ประเทศบราซิล เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีพื้นที่แลกเปลี่ยนพูดคุยกันเกี่ยวกับประเด็นความรุนแรงทางเชื้อชาติโดยเฉพาะความรุนแรงต่อคนผิวดำ ที่มักตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงโดยรัฐอยู่เสมอ ซึ่งรัฐบาเฮียที่จัดงานนี้เองก็เป็นรัฐที่มีจำนวนการเสียชีวิตของประชาชนจากความรุนแรงโดยตำรวจมากที่สุดในบราซิล การสร้างความตระหนักรู้ต่ออาชญากรรมโดยรัฐเหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้กับตำรวจอย่างมาก เปโดรต้องเผชิญการข่มขู่ โจมตีและสอดแนมอย่างหนักข้อจากทางรัฐเพียงเพราะเขายืนหยัดในสิทธิมนุษยชนที่คนทุกคนพึงมี เพียงเพราะเขากล้าลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวต่อต้านความอยุติธรรม ความรุนแรงที่รัฐทำกับเขาได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2018 ขณะกำลังนอนหลับอยู่ในบ้านของเขากับแฟนสาว เปโดรถูกยิงแปดนัดที่ศีรษะและลำคอโดยชายสวมฮูด 3 คน … Continued

El Conde: Vampirism, Neoliberalism, Fascism เมื่อจอมพลเผด็จการแห่งชิลีคือแวมไพร์กระหายเลือดมนุษย์

With Film Theorist Project, Vichakarn SmoPolSci *บทความนี้มีเนื้อหาที่เปิดเผยถึงตัวเนื้อเรื่องของหนัง El Conde ด้วยเขี้ยวเล็บอันแหลมคม พละกำลังมหาศาล ร่างกายที่คงกระพัน พร้อมผ้าคลุมชุดนายพลอันน่าเกรงขาม จอมพลออกุสโต ปิโนเชต์ (Augusto Pinochet) บินผงาดไปท่ามกลางค่ำคืนอันเงียบสงัดเหนือกรุงซันติอาโก (Santiago) แห่งชิลี เปรียบดั่งท่านเคานต์แดรกคูลาที่ออกตามล่าหาเหยื่อผู้โชคร้ายมาดับกระหายความหิวเลือดของมัน ใครจะคาดคิดกันได้ว่า อดีตผู้นำเผด็จการแห่งชิลีที่ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 2006 นั้น แท้จริงแล้วยังคงมีชีวิตอยู่ (หรือไม่?) และกำลังกลับมาออกอาละวาดเพื่อกินเลือดเนื้อผู้คนชาวชิลี สร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวอีกครั้งในรอบ 32 ปีตั้งแต่การถอยลงจากอำนาจของท่านนายพลในปี 1990 ! แต่ท่านผู้อ่านอย่าพึ่งได้ตื่นตระหนกกันไป ข้อความที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแต่อย่างใด แต่เป็นเนื้อเรื่องที่ได้เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่อง “El Conde” หรือในชื่อไทยว่า … Continued

China’s AI Weapon Development : จับตากองทัพจีนในยุค AI และนัยสำคัญต่อความมั่นคงโลก

นอกจากอำนาจนำทางการเมืองและเศรษฐกิจของจีนที่กำลังผงาดขึ้นอย่างก้าวกระโดด สิ่งที่ประชาคมโลกกำลังหวั่นวิตกคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ รัฐบาลจีนขณะนี้มีกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (PLA) ที่กำลังวิจัยและพัฒนาระบบอาวุธขั้นสูงอย่างแข็งขัน โดยจีนให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการสร้างระบบอาวุธอัตโนมัติ ซึ่งเป็นอิสระจากการสั่งการของมนุษย์ (Autonomous weapons) รวมไปถึงระบบอาวุธอัจฉริยะ (Intelligentized weapons)  นอกจากนี้ จีนยังกระตือรือร้นในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี  AI เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางเรือและการจู่โจมทางท้องทะเล นำมาสู่การเปิดตัว “จาริ” (JARI) หรือเรือไร้คนขับลำแรกของโลก ที่สามารถปฏิบัติการโจมตีได้ทั้งทางน้ำและทางอากาศ การสร้างเรือลำนี้ชี้ให้เห็นเป็นนัยว่ารัฐจีนกำลังให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความมั่นคงทางทะเล โดยเฉพาะบริเวณทะเลจีนใต้ ทั้งยังสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของจีนในการรักษาผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้ด้วย อย่างไรก็ดี ความก้าวหน้าของระบบอาวุธขั้นสูงเหล่านี้ย่อมมีผลกระทบต่อสมดุลอำนาจทางการทหารและความมั่นคงของโลกในหลายแง่มุม อาทิ ในด้านความปลอดภัย กองทัพจีนอาจเร่งติดตั้งระบบอาวุธที่ยังไม่ผ่านการทดสอบหรือไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่อาจกระทบต่อสันติภาพระหว่างประเทศ ในด้านจริยธรรม แม้ว่าจีนจะยึดมั่นในหลักการ “AI for Good”  หรือ การใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อแก้ไขปัญหาสังคม … Continued

เกิดอะไรขึ้นที่อิสราเอล – ปาเลสไตน์: เข้าใจความขัดแย้งครั้งล่าสุดผ่านลำดับเหตุการณ์ และท่าทีของนานาประเทศ

1. ลำดับเหตุการณ์  (1) เมื่อช่วงเช้ามืดของวันที่ 7 ตุลาคม 2023 กลุ่มติดอาวุธที่ชื่อ “ฮามาส (Hamas)” ในดินแดนอาหรับปาเลสไตน์ได้เปิดฉากโจมตีใส่อิสราเอลแบบไม่ทันตั้งตัวด้วยจรวดกว่าหลายพันลูกเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ แม้กระทั่งเมืองใหญ่อย่างเทลอาวีฟ (Tel Aviv) และเยรูซาเล็ม (Jerusalem) ก็ไม่รอดพ้นจากการจู่โจมครั้งนี้ นำมาสู่ “แผ่นดินอิสราเอล” ที่อื้ออึงไปด้วยเสียงไซเรนเตือนภัย (2) ในอีกด้านหนึ่งกลุ่มฮามาสได้ส่งกองกำลังฝ่าแนวสกัดกั้นลวดหนามเข้ามายังพื้นที่ทางตอนใต้ของอิสราเอล ใกล้กับฉนวนกาซา (Gaza Strip) สำเร็จ ซึ่งเรียกปฏิบัติการนี้ว่า “พายุ อัล-อักซอ” (Operation Al-Aqsa Storm) ทำให้หลายฝ่ายมองว่าทางกลุ่มฮามาสมีการวางแผนเตรียมการจู่โจมครั้งนี้มาเป็นอย่างดี (3) ทางกลุ่มฮามาสบุกเข้ามายังในเมืองและในหมู่บ้านทางตอนใต้ของอิสราเอลและได้จับพลเรือนและเจ้าหน้าที่ทหารเป็นตัวประกัน ซึ่งมีคนไทยรวมอยู่ด้วย ต่อมาทางโฆษกกลุ่มฮามาสออกมาเปิดเผยว่า การโจมตีครั้งนี้เป็นการล้างแค้นให้ชาวปาเลสไตน์ที่ถูกอิสราเอลบุกสังหารในมัสยิดอัล-อักซอ (Al-Aqsa) ในเยรูซาเล็ม … Continued

Banana Republic

Banana Republic? อเมริกาที่กำลังตามเล่นงานอดีตประธานาธิบดีผู้จะลงเลือกตั้งอีกรอบ ขณะนี้ ในสหรัฐอเมริกามีมหากาพย์ทางตุลาการที่ทั่วโลกกำลังติดตามคือการดำเนินคดีต่าง ๆมากมายกับอดีตประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ (Donald Trump) ซึ่งได้ประกาศว่าจะลงเลือกตั้งผู้นำปี 2024 อีกครั้งในนามพรรครีพับลิกัน (Republican) ซึ่งความนิยมของเขากำลังนำหน้าเเคนดิเเดตของพรรคเดโมแครต (Democrat) อย่าง โจ ไบเดน (Joe Biden) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันในหลายโพลสาธารณะชั้นนำ . จึงนำมาสู่การตั้งข้อสงสัยอย่างกว้างขวางว่ามีการใช้อำนาจตุลาการเพื่อกดดันทรัมป์หรือไม่? . ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก เมื่อใกล้จะมีการเลือกตั้ง พรรคฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายที่กุมอำนาจนำมักจะมีการประยุกต์ใช้อำนาจทางตุลาการที่ฝ่ายตนมีอยู่มาประยุกต์ด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อใช้ในการกดดัน ขมขู่ หรือถึงขั้นทำลายฝั่งตรงข้ามทางการเมืองที่กำลังมาเเรง จะมีศัพท์เรียกประเทศเหล่านี้ว่า Banana Republic . สหรัฐอเมริกาที่มักอ้างตัวเองเป็น ‘เสาหลักแห่งประชาธิปไตย’ แต่ในขณะนี้มีการกระทำที่อาจมองได้ว่าเป็นการใช้กฎหมายกับคู่แข่งทางการเมือง … Continued

 เมื่อการ rebranding จาก “Twitter” สู่ “X” สะท้อนถึงสังคมที่เอียงขวา

ช่วงปลายเดือนกรกฏาที่ผ่านมา อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ซีอีโอบริษัท     เทสลา (Tesla) และอภิมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ได้สร้างปรากฏการณเสียงแตกในโลกออนไลน์ด้วยการเผยโฉมโลโก้ “X” ซึ่งจะมาแทนที่โลโก้นกสีฟ้าเดิมของทวิตเตอร์ การตัดสินใจดังกล่าวส่งผลให้ผู้ใช้ทวิตเตอร์ ต่างพากันรัวความคิดเห็นของตัวเองผ่านกล่องข้อความ 280 ตัวอักษรเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นกิจวัตรที่ปรากฏให้เห็นได้บ่อยครั้งมากขึ้นหลังจากที่อีลอนเข้าซื้อกิจการทวิตเตอร์ด้วยเม็ดเงินมหาศาลกว่า 44 พันล้านดอลลาร์หรือราว 1.7 ล้านล้านบาท เมื่อปีที่ผ่านมา   อีลอนเปิดเผยเหตุผลของการรีแบรนดิ้งครั้งนี้ว่า “การเปลี่ยนโลโก้ของทวิตเตอร์จากเดิมทีที่เป็นตัวการ์ตูนนกสีฟ้าให้กลายเป็นตัวอักษร “X” ที่มีทั้งสีขาวและสีดำในโลโก้ ก็เพราะว่าพยัญชนะ “X” สื่อถึง “ความไม่สมบูรณ์แบบ (imperfection) ที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์”   ด้านเสียงสะท้อนในโลกออนไลน์เสนอว่าความหมายของตัวอักษร “X” มีความยึดโยงถึงนวัตกรรมและความก้าวหน้า บ้างก็ว่าตัวแปร … Continued