เรื่องราวของ ‘ป้าอัญชัญ’ กับการจำคุกยาวนานเป็นประวัติศาสตร์ เพียงเพราะแชร์คลิปเสียงประเด็นการเมือง 

อัญชัญ ปรีเลิศ หรือ ‘ป้าอัญชัญ’ อดีตข้าราชการวัยเกษียณ ผู้ถูกตัดสินให้ต้องโทษจำคุกเป็นเวลา 87 ปี จากกรณีแชร์คลิปเสียงของดีเจผู้จัดรายการใต้ดินรายหนึ่งผู้ใช้นามแฝงว่า ‘บรรพต’  ซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองและสถาบันกษัตริย์ ส่งผลให้เข้าข่ายคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากการถูกหมิ่นประมาท หรือถูกอาฆาตมาตร้าย โดยบรรพตนั้นทำคลิปลักษณะนี้มาแล้วกว่า 1,000 คลิป ทว่ากลับถูกดำเนินคดีเพียงแค่ 1 กรรมเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามกับป้าอัญชัญ ที่เพียงแชร์คลิปเพราะอยากช่วยเท่าที่จะช่วยได้ รวมแล้วกว่า 29 กรรม ซึ่งหมายถึง ตำรวจได้นำการแชร์ 29 คลิปมาดำเนินคดี หรือการใช้อัตราโทษคูณด้วยจำนวนกรรม ทำให้ป้าอัญชัญได้รับโทษสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด  อิสรภาพชั่วคราว กับความยุติธรรมที่สูญหายไป ด้วยช่องว่างทางกฎหมายทำให้ช่วงระหว่างการพิจารณาคดีของป้าอัญชัญนำมาซึ่งความสูญเสียทางอิสรภาพที่ไม่ควรเสียตั้งแต่แรกเริ่ม กล่าวคือ … Continued

เสียงสะท้อนที่เงียบงัน : การต่อสู้กับความอยุติธรรมและระบอบกษัตริย์เอสวาตินีที่มีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญของทูลานี มาเซโกะ (Thulani Maseko) 

ทูลานี มาเซโกะ (Thulani Maseko) เป็นทนายความและนักกิจกรรมผู้ซึ่งเคลื่อนไหวเรียกร้องในประเด็นสิทธิมนุษยชนในประเทศเอสวาตินี ในฐานะประชาชนที่เติบโตในเอสวาตินี เขาสังเกตเห็นความเหลื่อมล้ำและความผิดปกติของกระบวนการยุติธรรมมาโดยตลอด โดยเขาได้วิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐและกฎหมายปราบปรามของเอสวาตินีอย่างเปิดเผย  เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566 ทูลานี ถูกยิงเสียชีวิตผ่านทางหน้าต่างบ้านของเขา สถานที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเงียบสงบ เป็นส่วนตัว และเปี่ยมไปด้วยความรักที่ทูลานีมีต่อภรรยาและลูก ๆ ต้องกลายเป็นจุดจบชีวิตของเขาอย่างน่าสะเทือนใจ  ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าสลดใจนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตี ที่ 3 (King Mswati III) ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่สังคมลืมไม่ลงไว้ว่า “ผู้ที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปประชาธิปไตยจะต้องถูกจัดการ ประชาชนไม่ควรหลั่งนํ้าตากับความตายของพวกพวกนักเรียกร้องประชาธิปไตยเหล่านั้น และไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์ทหารรับจ้างคนใดที่ฆ่าพวกเขาไป” เหตุการณ์นี้ถูกมองว่าเป็นเพียงการเชือดไก่ให้ลิงดูจากฝั่งรัฐบาล เพื่อส่งสัญญาณเตือนบรรดานักเคลื่อนไหวที่ออกมาต่อต้านรัฐบาล  สำหรับประเทศเอสวาตินี หรือชื่อเดิมคือ สวาซิแลนด์ เป็นเพียงไม่กี่ประเทศในแอฟริกาที่ยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้การนำของกษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 แห่งราชวงศ์ดลามี … Continued

Uncle Pabai and Uncle Paul : ลมหายใจเฮือกสุดท้ายก่อนที่บ้านจะหายไปตลอดกาล

ภัยคุกคามโลก “ภาวะโลกรวน (Climate Change)” คือ ความแปรปรวนของสภาพอากาศเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอย่างไม่มีท่าทีว่าจะควบคุมได้ อารยธรรมที่วิวัฒนาการไปข้างหน้าเรื่อยๆ กลับสร้างผลเสียให้กับโลกในความเร็วที่วิ่งตามไม่ห่างกันเท่าไหร่นัก และที่น่าเศร้าไปยิ่งกว่านั้นคือชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเป็นกลุ่มแรกๆ กลับกลายเป็นชุมชนที่มีส่วนต้องรับผิดชอบต่อภาวะโลกรวนน้อยที่สุดไปเสียอย่างนั้น ภาวะโลกรวนที่เกิดอยู่ในขณะนี้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ทั้งทำให้น้ำร้อนขึ้นและขยายตัว และยังทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย สองปัจจัยนี้ได้ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นทุกปีอย่างไม่มีทีท่าว่าจะชะลอลง ส่งผลให้ทุกเกาะทั่วโลกได้รับผลกระทบอันแสนสาหัสต่อสภาพความเป็นอยู่บนเกาะตามมา ซึ่งเกาะ Guda Maluyligal คือหนึ่งในนั้น ลุงพาไบและลุงพอล พวกเขาทั้งคู่เป็นผู้นำชุมชนจาก Guda Maluyligal เกาะแห่งหนึ่งบริเวณช่องแคบทอร์เรส (Torres Strait) ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นด่านหน้าในการรับมือกับผลกระทบจากภาวะโลกรวน และปัญหาการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล  ปัญหาที่ชาว Guda Maluyligal กำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้ คือ ระดับน้ำทะเลที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 3 เมตร นั่นหมายถึง … Continued

เพื่อลูกชายที่สูญเสีย เพื่อสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรม : อานา มาเรีย ซานโตส ครูซ (Ana Maria Santos Cruz) จากแม่ธรรมดาสู่นักเรียกร้องสิทธิมนุษยชน

ในบราซิลขณะนี้ ยังคงมีแม่คนหนึ่งกำลังเรียกร้องความยุติธรรมให้กับลูกชายผู้ล่วงลับของเธอ แรกเริ่มชีวิตของอานา ก็เหมือนชีวิตของใครหลายๆ คน เธอเป็นแม่ธรรมดาๆ คนหนึ่ง ผู้มีความสุขกับเสียงดนตรี และใช้เวลาว่างของเธอไปเที่ยวงานคอนเสิร์ตและอีเวนต์ต่างๆ กับลูกสาวในเมืองซัลวาดอร์ ประเทศบราซิล ลูกชายของเธอ เปโดร เฮนริค (Pedro Henrique) เป็นนักเคลื่อนไหวด้านความยุติธรรมทางเชื้อชาติและสิทธิมนุษยชน เขาได้จัดกิจกรรมชื่อ ‘การเดินเพื่อสันติภาพ’ ขึ้นในเมืองทูคาโน รัฐบาเฮีย ประเทศบราซิล เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีพื้นที่แลกเปลี่ยนพูดคุยกันเกี่ยวกับประเด็นความรุนแรงทางเชื้อชาติโดยเฉพาะความรุนแรงต่อคนผิวดำ ที่มักตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงโดยรัฐอยู่เสมอ ซึ่งรัฐบาเฮียที่จัดงานนี้เองก็เป็นรัฐที่มีจำนวนการเสียชีวิตของประชาชนจากความรุนแรงโดยตำรวจมากที่สุดในบราซิล การสร้างความตระหนักรู้ต่ออาชญากรรมโดยรัฐเหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้กับตำรวจอย่างมาก เปโดรต้องเผชิญการข่มขู่ โจมตีและสอดแนมอย่างหนักข้อจากทางรัฐเพียงเพราะเขายืนหยัดในสิทธิมนุษยชนที่คนทุกคนพึงมี เพียงเพราะเขากล้าลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวต่อต้านความอยุติธรรม ความรุนแรงที่รัฐทำกับเขาได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2018 ขณะกำลังนอนหลับอยู่ในบ้านของเขากับแฟนสาว เปโดรถูกยิงแปดนัดที่ศีรษะและลำคอโดยชายสวมฮูด 3 คน … Continued