On This Day: 2 พฤศจิกายน 2561 ยกเลิกดาว เดือน ดาวเทียม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รู้หรือไม่ว่า ครั้งหนึ่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ก็เคยมีดาว เดือน ดาวเทียม มาก่อน ซึ่งกิจกรรมนี้ได้ถูกยกเลิกลงไปด้วยประชามติของนิสิตชั้นปี 1 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ในคาบเรียนรายวิชา LOG REAS SOC INQY ท่ามกลางการถกเถียงกันระหว่างฝ่ายที่เห็นชอบให้คงอยู่และฝ่ายเสนอให้ยกเลิก

ควันหลง “โอลิมปิกเกมส์” กับแรงบันดาลใจที่ไม่เคยมีคำว่า “สายเกินไป”

posted in: ทั่วไป | 0

ในปี 2567 ได้มีการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่จะวนมาสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมทั่วโลกในทุก ๆ 4 ปี อย่าง “โอลิมปิกเกมส์” หรือหากจะเจาะจงมากยิ่งขึ้นก็คือ การแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน ซึ่งในครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 33 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม ถึง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2567 มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันประมาณ 10,500 คน จาก 206 ประเทศทั่วโลก โดยมีการแข่งขัน 32 ประเภทชนิดกีฬา รวม 329 รายการ (329 เหรียญทอง) สำหรับประเทศไทยมีนักกีฬาที่คว้าตั๋วโอลิมปิกในครั้งนี้ทั้งสิ้น 51 คน … Continued

On This Day: 6 ตุลาคม 2563 เปิดห้องวิชิตชัย ความสำเร็จก้าวแรกแห่งการบูรณะตึกกิจกรรมนิสิต

ในทุกปี หลากหลายองค์กรต่างรำลึกถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เองก็ได้ให้ความสำคัญกับวันดังกล่าวอย่างมาก ผ่านทั้งการจัดงานเสวนาที่เชิญบุคคลสำคัญทางการเมืองจากต่างประเทศจนกลายเป็นข่าวดังไปทั่วโลก กระทั่งการทุ่มทุนบูรณะตึกกิจกรรมนิสิต การจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ธรรมศาสตร์โดยสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ถูกจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2559 ในครั้งนั้นมีการเชิญโจชัว หว่อง นักกิจกรรมชาวฮ่องกง มากล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “การเมืองของคนรุ่นใหม่”1 แต่โจชัว หว่อง กลับถูกรัฐบาลไทยกักตัวที่ท่าอากาศยาน ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมงานได้ เหตุการณ์นั้นทำให้เกิดกระแสข่าวไปทั่วโลก2 และทำให้โจชัว หว่อง กลายเป็นที่สนใจของสังคมไทยในวงกว้าง 4 ปีต่อมา ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563 สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ได้จัดพิธีเปิดห้องประชุมวิชิตชัย อมรกุล และห้องอเนกประสงค์ … Continued

On This Day: 21 กันยายน 2562 “เสียงเล็กๆ ที่ไม่ดัง” วิจารณ์กิจกรรม Back to School

รู้หรือไม่ วันนี้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว (21 กันยายน 2562) สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์กรณีจัดกิจกรรม Back to School โดยผู้เขียนนามปากกา “เสียงเล็กๆ ที่ไม่ดัง” ได้เขียนบทความชื่อ “โลกจะแตก น้ำจะท่วมโลก แต่สโมฯ รัฐศาสตร์ยังจัดกิจกรรมไร้อนาคต” ผ่านเว็บไซต์ “ประชาไท” จนมีการนำไปสู่การโต้แย้งกันผ่านบทความที่มีการนำไปสู่การถกเถียงเชิงแนวคิด อุดมการณ์และการโจมตีตัวบุคคล

On This Day: 12 มิถุนายน 2565 สโมฯ รัฐศาสตร์ยกเลิกคำนำหน้าชื่อ

posted in: ทั่วไป | 0

สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประกาศขอยกเลิกการใช้คำนำหน้า (นาย/นางสาว) ในเอกสารภายในทุกหน่วยงานของสโมสรนิสิตฯ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2565 หลังนายกสโมสรฯ ได้ลงนามในประกาศสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ข้อตกลงการทำงานร่วมกัน สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยข้อ 4 ได้บัญญัติว่า “ให้ยกเลิกการใช้คํานําหน้า ได้แก่ นาย หรือ นางสาว ในเอกสารภายในสโมสรนิสิตฯ” ประกาศฉบับดังกล่าวได้สืบเนื่องมาจากมติในการประชุมคณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ สมัยสามัญ ครั้งที่ 2 / 2565 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2565 ก่อนหน้านั้น 8 วัน คือ วันที่ … Continued

เรื่องเล่าหลายหน้าของสองชุมชนแห่งกุหลาบแดงและซอยพระเจนที่ยังไม่มีบทอวสาน

ผู้คน – ชุมชน – ข้างบน องค์ประกอบที่ไม่ลงรอยกัน ตอน 2 บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสิงห์ดำพาไปเจอ “ปทุมวันฟิลด์ทริป” โดยฝ่ายพัฒนาสังคม สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ข้อมูลบางส่วนที่ปรากฏในบทความเป็นความเห็นตามความเข้าใจของผู้ให้สัมภาษณ์สลับการสังเกตวิเคราะห์ของผู้เขียน หลังจากที่เราได้เดินทางออกมาจากชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ (เนื้อหาอยู่ในตอน 1) ก็เริ่มการเดินเท้าต่อใช้เวลาไม่นานประมาณ 5 นาที ถึงชุมชนกุหลาบแดงที่บรรยากาศดูร่มเย็นกว่าชุมชนบ่อนไก่ที่เพิ่งได้ไปมา ชุมชนกุหลาบแดงของคุณกุหลาบ? เราได้เข้าไปยังสุดซอยกลางของชุมชนกุหลาบแดงโดยคำอนุญาตของพี่หนิง ผู้ดูแลประสานงานของชุมชน ระหว่างทางเธอชี้ให้เห็นถึงจุดที่ถูกไฟไหม้และมีการตั้งสังกะสีล้อมพื้นที่ไว้เป็นเครื่องแสดงว่าเป็นพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ไม่มีผู้ใดสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้เว้นแต่จะขอจัดกิจกรรมใด ๆ เป็นรายกรณี พี่หนิงเรียกพี่เหน่งให้ออกมาจาก “บ้าน” หลังสีเขียวที่ข้างหน้ามีประตูเหล็กสีแดงและผ้ากันแสงจากภายนอกสีดำทึบ เพื่อช่วยให้ข้อมูลกับเรา เช่นเดียวกันกับป้านุ้ยที่เราพบที่ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ พี่เหน่งก็ประกอบอาชีพเป็นแม่บ้านในสำนักงานย่านคลองเตย เดินทางด้วยรถเมล์ไม่นานก็ถึง … Continued

การเดินทางของแมวลายสลิดประจบชุมชนบ่อนไก่

ผู้คน – ชุมชน – ข้างบน องค์ประกอบที่ไม่ลงรอยกัน ตอน 1 *บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสิงห์ดำพาไปเจอ “ปทุมวันฟิลด์ทริป” โดยฝ่ายพัฒนาสังคม สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ข้อมูลบางส่วนที่ปรากฏในบทความเป็นความเห็นตามความเข้าใจของผู้ให้สัมภาษณ์สลับกับการสังเกตวิเคราะห์ของผู้เขียน การลงพื้นที่ไปยังชุมชนนี้เป็นการลงพื้นที่ครั้งแรกในชีวิตของเรา สตาฟนัดหมายผู้เข้าร่วมที่หอนาฬิกาสวนลุมพินีตั้งแต่ 9 โมงเช้า แดดยังไม่แรงมาก มีลมแผ่วๆ พัดใบไม้ปลิวหล่นลงมาเป็นระยะ เรานั่งเป็นกลุ่มตามสีต่างๆ ที่ได้แบ่งเอาไว้ พร้อมรับฟังการอธิบายกำหนดการ โดยจะเริ่มจากการเยือนชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ ชุมชนกุหลาบแดง และชุมชนซอยพระเจนตามลำดับ ในชุดบทความนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยชุมชนพัฒนาบ่อนไก่จะจัดอยู่ในบทความตอนแรกนี้ ส่วนชุมชนกุหลาบแดง และชุมชนซอยพระเจน จะอยู่ในตอนที่ 2 … Continued

สัมภาษณ์ชีวิตเด็กคณะสายสัง :วาระใหญ่สโม66

posted in: ทั่วไป | 0

จากบทความ ชีวิตนิสิตของเรากับ“ชายแท้ชมรมบอล”ในคณะสายสัง ที่ลงในเว็บไซต์ประชาไท เมื่อวันที่ 3 เดือนมีนาคม 2567 ซึ่งมีการพาดพิงถึงพฤติกรรมของสมาชิกชมรมฟุตบอล คณะรัฐศาสตร์ จุฬานั้น โดยในเนื้อหาได้มีการออกมาประนามการกระทำไม่ดีต่างๆ จึงเกิดเป็นกระแสโด่งดังและถูกให้ความสนใจมากมายจากทั้งในและนอกคณะ จนสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์และชมรมฟุตบอลต้องออกมาแถลงการณ์ อย่างไรก็ดี แถลงการณ์ดังกล่าวก็ยังมีทั้งคนที่ชอบและไม่พอใจจำนวนมาก บทความนี้ จึงต้องการรวบรวมความรู้สึกและความคิดเห็นของบุคคลที่ถูกพาดพิงในบทความดังกล่าว เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะและก่อให้เกิดการแก้ไขต่อไป    โดยทางผู้เขียนได้ถามคำถาม 2 ข้อกับทุกฝ่าย ได้แก่ 1. หลังจากอ่านบทความประชาไทมีความรู้สึกอย่างไร และ 2.หลังจากอ่านแถลงการณ์สโมสรคณะรัฐศาสตร์และชมรมฟุตบอลมีความเห็นอย่างไร    โดยA นิสิตที่เสียหายและถูกพาดพิงในบทความดังกล่าว บอกกับเราว่า  เมื่ออ่านบทความประชาไท เขารู้สึกดีใจที่ยังมีคนที่ไม่เพิกเฉยกับสิ่งที่เขาเจอ เพราะสิ่งที่เขาเจอมาตลอดตั้งแต่เกิดเรื่องสร้างบาดแผลทางความรู้สึกและจิตใจของเขาเป็นอย่างมาก รู้สึกอยากจะขอบคุณคนที่เขียนบทความที่นำเสนอประเด็นนี้ออกมา แต่เมื่อทางสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ได้เผยแพร่แถลงการณ์ฉบับแรก เขารู้สึกผิดหวังและรู้สึกตัวเองถูกซ้ำเติมจากแถลงการณ์ดังกล่าว เพราะหากไม่มีบทความจากประชาไทแล้ว สิ่งที่เขาเจอก็จะถูกเพิกเฉยจากทุกฝ่าย ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่สโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์แถลงที่มีเนื้อหาอ้างว่า … Continued

เรื่องราวของ ‘ป้าอัญชัญ’ กับการจำคุกยาวนานเป็นประวัติศาสตร์ เพียงเพราะแชร์คลิปเสียงประเด็นการเมือง 

อัญชัญ ปรีเลิศ หรือ ‘ป้าอัญชัญ’ อดีตข้าราชการวัยเกษียณ ผู้ถูกตัดสินให้ต้องโทษจำคุกเป็นเวลา 87 ปี จากกรณีแชร์คลิปเสียงของดีเจผู้จัดรายการใต้ดินรายหนึ่งผู้ใช้นามแฝงว่า ‘บรรพต’  ซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองและสถาบันกษัตริย์ ส่งผลให้เข้าข่ายคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากการถูกหมิ่นประมาท หรือถูกอาฆาตมาตร้าย โดยบรรพตนั้นทำคลิปลักษณะนี้มาแล้วกว่า 1,000 คลิป ทว่ากลับถูกดำเนินคดีเพียงแค่ 1 กรรมเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามกับป้าอัญชัญ ที่เพียงแชร์คลิปเพราะอยากช่วยเท่าที่จะช่วยได้ รวมแล้วกว่า 29 กรรม ซึ่งหมายถึง ตำรวจได้นำการแชร์ 29 คลิปมาดำเนินคดี หรือการใช้อัตราโทษคูณด้วยจำนวนกรรม ทำให้ป้าอัญชัญได้รับโทษสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด  อิสรภาพชั่วคราว กับความยุติธรรมที่สูญหายไป ด้วยช่องว่างทางกฎหมายทำให้ช่วงระหว่างการพิจารณาคดีของป้าอัญชัญนำมาซึ่งความสูญเสียทางอิสรภาพที่ไม่ควรเสียตั้งแต่แรกเริ่ม กล่าวคือ … Continued

เสียงสะท้อนที่เงียบงัน : การต่อสู้กับความอยุติธรรมและระบอบกษัตริย์เอสวาตินีที่มีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญของทูลานี มาเซโกะ (Thulani Maseko) 

ทูลานี มาเซโกะ (Thulani Maseko) เป็นทนายความและนักกิจกรรมผู้ซึ่งเคลื่อนไหวเรียกร้องในประเด็นสิทธิมนุษยชนในประเทศเอสวาตินี ในฐานะประชาชนที่เติบโตในเอสวาตินี เขาสังเกตเห็นความเหลื่อมล้ำและความผิดปกติของกระบวนการยุติธรรมมาโดยตลอด โดยเขาได้วิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐและกฎหมายปราบปรามของเอสวาตินีอย่างเปิดเผย  เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566 ทูลานี ถูกยิงเสียชีวิตผ่านทางหน้าต่างบ้านของเขา สถานที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเงียบสงบ เป็นส่วนตัว และเปี่ยมไปด้วยความรักที่ทูลานีมีต่อภรรยาและลูก ๆ ต้องกลายเป็นจุดจบชีวิตของเขาอย่างน่าสะเทือนใจ  ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าสลดใจนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตี ที่ 3 (King Mswati III) ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่สังคมลืมไม่ลงไว้ว่า “ผู้ที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปประชาธิปไตยจะต้องถูกจัดการ ประชาชนไม่ควรหลั่งนํ้าตากับความตายของพวกพวกนักเรียกร้องประชาธิปไตยเหล่านั้น และไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์ทหารรับจ้างคนใดที่ฆ่าพวกเขาไป” เหตุการณ์นี้ถูกมองว่าเป็นเพียงการเชือดไก่ให้ลิงดูจากฝั่งรัฐบาล เพื่อส่งสัญญาณเตือนบรรดานักเคลื่อนไหวที่ออกมาต่อต้านรัฐบาล  สำหรับประเทศเอสวาตินี หรือชื่อเดิมคือ สวาซิแลนด์ เป็นเพียงไม่กี่ประเทศในแอฟริกาที่ยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้การนำของกษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 แห่งราชวงศ์ดลามี … Continued