การเดินทางของแมวลายสลิดประจบชุมชนบ่อนไก่

ผู้คน – ชุมชน – ข้างบน องค์ประกอบที่ไม่ลงรอยกัน ตอน 1 *บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสิงห์ดำพาไปเจอ “ปทุมวันฟิลด์ทริป” โดยฝ่ายพัฒนาสังคม สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมเมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ข้อมูลบางส่วนที่ปรากฏในบทความเป็นความเห็นตามความเข้าใจของผู้ให้สัมภาษณ์สลับกับการสังเกตวิเคราะห์ของผู้เขียน การลงพื้นที่ไปยังชุมชนนี้เป็นการลงพื้นที่ครั้งแรกในชีวิตของเรา สตาฟนัดหมายผู้เข้าร่วมที่หอนาฬิกาสวนลุมพินีตั้งแต่ 9 โมงเช้า แดดยังไม่แรงมาก มีลมแผ่วๆ พัดใบไม้ปลิวหล่นลงมาเป็นระยะ เรานั่งเป็นกลุ่มตามสีต่างๆ ที่ได้แบ่งเอาไว้ พร้อมรับฟังการอธิบายกำหนดการ โดยจะเริ่มจากการเยือนชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ ชุมชนกุหลาบแดง และชุมชนซอยพระเจนตามลำดับ ในชุดบทความนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยชุมชนพัฒนาบ่อนไก่จะจัดอยู่ในบทความตอนแรกนี้ ส่วนชุมชนกุหลาบแดง และชุมชนซอยพระเจน จะอยู่ในตอนที่ 2 … Continued

สัมภาษณ์ชีวิตเด็กคณะสายสัง :วาระใหญ่สโม66

posted in: ทั่วไป | 0

จากบทความ ชีวิตนิสิตของเรากับ“ชายแท้ชมรมบอล”ในคณะสายสัง ที่ลงในเว็บไซต์ประชาไท เมื่อวันที่ 3 เดือนมีนาคม 2567 ซึ่งมีการพาดพิงถึงพฤติกรรมของสมาชิกชมรมฟุตบอล คณะรัฐศาสตร์ จุฬานั้น โดยในเนื้อหาได้มีการออกมาประนามการกระทำไม่ดีต่างๆ จึงเกิดเป็นกระแสโด่งดังและถูกให้ความสนใจมากมายจากทั้งในและนอกคณะ จนสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์และชมรมฟุตบอลต้องออกมาแถลงการณ์ อย่างไรก็ดี แถลงการณ์ดังกล่าวก็ยังมีทั้งคนที่ชอบและไม่พอใจจำนวนมาก บทความนี้ จึงต้องการรวบรวมความรู้สึกและความคิดเห็นของบุคคลที่ถูกพาดพิงในบทความดังกล่าว เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะและก่อให้เกิดการแก้ไขต่อไป    โดยทางผู้เขียนได้ถามคำถาม 2 ข้อกับทุกฝ่าย ได้แก่ 1. หลังจากอ่านบทความประชาไทมีความรู้สึกอย่างไร และ 2.หลังจากอ่านแถลงการณ์สโมสรคณะรัฐศาสตร์และชมรมฟุตบอลมีความเห็นอย่างไร    โดยA นิสิตที่เสียหายและถูกพาดพิงในบทความดังกล่าว บอกกับเราว่า  เมื่ออ่านบทความประชาไท เขารู้สึกดีใจที่ยังมีคนที่ไม่เพิกเฉยกับสิ่งที่เขาเจอ เพราะสิ่งที่เขาเจอมาตลอดตั้งแต่เกิดเรื่องสร้างบาดแผลทางความรู้สึกและจิตใจของเขาเป็นอย่างมาก รู้สึกอยากจะขอบคุณคนที่เขียนบทความที่นำเสนอประเด็นนี้ออกมา แต่เมื่อทางสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ได้เผยแพร่แถลงการณ์ฉบับแรก เขารู้สึกผิดหวังและรู้สึกตัวเองถูกซ้ำเติมจากแถลงการณ์ดังกล่าว เพราะหากไม่มีบทความจากประชาไทแล้ว สิ่งที่เขาเจอก็จะถูกเพิกเฉยจากทุกฝ่าย ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่สโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์แถลงที่มีเนื้อหาอ้างว่า … Continued

รักสีเลือดครั้งที่ 4 ของเจียงชิงและเหมาเจ๋อตง

จะเป็นไปได้หรือไม่ว่าด้วยการเมืองนั้นจะสามารถมาบรรจบพบเจอกับความรักได้ จะเป็นไปได้หรือไม่ว่าด้วยความรักนั้นจะนำพาไปสู่หายนะและการนองเลือดครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ นั่นก็คือกลเกมรัก (สีเลือด) และการเมือง ของเจียงชิงและเหมา เจ๋อตง เจียงชิง (Jiang Qing) หรือที่มักได้รับการขนานนามว่า “มาดามเหมา” ภรรยาคนที่ 4 ของเหมา เจ๋อตง เธอเผชิญกับวัยเด็กที่ขมขื่นด้วยชีวิตความเป็นอยู่และครอบครัวที่ไม่สุขสมบูรณ์ เจียงชิงมีนิสัยที่หาญกล้าแต่แข็งทื่อ อดทนแต่หยิ่งยโส อิสระเสรีแต่ใจแคบ ร่าเริงแต่เอาใจยาก ทะเยอทะยานแต่พยาบาทและอาฆาตแค้น ท่ามกลางนิสัยที่สลับซับซ้อนไม่มีใครคาดเดาได้ เธอโดดเด่นและสวยงามบนเวทีนับตั้งแต่เธอเข้าร่วมโรงละครการแสดงเมื่อครั้งอายุได้ 7 ปี เธอย้ายข้าวของออกจากเมืองชิงเต่า (Qingdao) มายังเซี่ยงไฮ้ ที่ซึ่งเต็มไปด้วยศิลปะและวัฒนธรรมย่อยมากมาย การแสดงตัวละคร “โนรา” จากเรื่อง “A Doll’s House” ทำให้เจียงชิงเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะนักแสดงอาชีพ และในขณะเดียวกัน หลังเธอเริ่มมีสัมพันธ์กับคู่สมรสที่มีความคิดสนับสนุนคอมมิวนิสต์ และการพบกับ … Continued

เรื่องราวของ ‘ป้าอัญชัญ’ กับการจำคุกยาวนานเป็นประวัติศาสตร์ เพียงเพราะแชร์คลิปเสียงประเด็นการเมือง 

อัญชัญ ปรีเลิศ หรือ ‘ป้าอัญชัญ’ อดีตข้าราชการวัยเกษียณ ผู้ถูกตัดสินให้ต้องโทษจำคุกเป็นเวลา 87 ปี จากกรณีแชร์คลิปเสียงของดีเจผู้จัดรายการใต้ดินรายหนึ่งผู้ใช้นามแฝงว่า ‘บรรพต’  ซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองและสถาบันกษัตริย์ ส่งผลให้เข้าข่ายคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากการถูกหมิ่นประมาท หรือถูกอาฆาตมาตร้าย โดยบรรพตนั้นทำคลิปลักษณะนี้มาแล้วกว่า 1,000 คลิป ทว่ากลับถูกดำเนินคดีเพียงแค่ 1 กรรมเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามกับป้าอัญชัญ ที่เพียงแชร์คลิปเพราะอยากช่วยเท่าที่จะช่วยได้ รวมแล้วกว่า 29 กรรม ซึ่งหมายถึง ตำรวจได้นำการแชร์ 29 คลิปมาดำเนินคดี หรือการใช้อัตราโทษคูณด้วยจำนวนกรรม ทำให้ป้าอัญชัญได้รับโทษสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด  อิสรภาพชั่วคราว กับความยุติธรรมที่สูญหายไป ด้วยช่องว่างทางกฎหมายทำให้ช่วงระหว่างการพิจารณาคดีของป้าอัญชัญนำมาซึ่งความสูญเสียทางอิสรภาพที่ไม่ควรเสียตั้งแต่แรกเริ่ม กล่าวคือ … Continued

เสียงสะท้อนที่เงียบงัน : การต่อสู้กับความอยุติธรรมและระบอบกษัตริย์เอสวาตินีที่มีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญของทูลานี มาเซโกะ (Thulani Maseko) 

ทูลานี มาเซโกะ (Thulani Maseko) เป็นทนายความและนักกิจกรรมผู้ซึ่งเคลื่อนไหวเรียกร้องในประเด็นสิทธิมนุษยชนในประเทศเอสวาตินี ในฐานะประชาชนที่เติบโตในเอสวาตินี เขาสังเกตเห็นความเหลื่อมล้ำและความผิดปกติของกระบวนการยุติธรรมมาโดยตลอด โดยเขาได้วิพากษ์วิจารณ์การใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐและกฎหมายปราบปรามของเอสวาตินีอย่างเปิดเผย  เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566 ทูลานี ถูกยิงเสียชีวิตผ่านทางหน้าต่างบ้านของเขา สถานที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเงียบสงบ เป็นส่วนตัว และเปี่ยมไปด้วยความรักที่ทูลานีมีต่อภรรยาและลูก ๆ ต้องกลายเป็นจุดจบชีวิตของเขาอย่างน่าสะเทือนใจ  ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าสลดใจนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตี ที่ 3 (King Mswati III) ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่สังคมลืมไม่ลงไว้ว่า “ผู้ที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปประชาธิปไตยจะต้องถูกจัดการ ประชาชนไม่ควรหลั่งนํ้าตากับความตายของพวกพวกนักเรียกร้องประชาธิปไตยเหล่านั้น และไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์ทหารรับจ้างคนใดที่ฆ่าพวกเขาไป” เหตุการณ์นี้ถูกมองว่าเป็นเพียงการเชือดไก่ให้ลิงดูจากฝั่งรัฐบาล เพื่อส่งสัญญาณเตือนบรรดานักเคลื่อนไหวที่ออกมาต่อต้านรัฐบาล  สำหรับประเทศเอสวาตินี หรือชื่อเดิมคือ สวาซิแลนด์ เป็นเพียงไม่กี่ประเทศในแอฟริกาที่ยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้การนำของกษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 แห่งราชวงศ์ดลามี … Continued

Uncle Pabai and Uncle Paul : ลมหายใจเฮือกสุดท้ายก่อนที่บ้านจะหายไปตลอดกาล

ภัยคุกคามโลก “ภาวะโลกรวน (Climate Change)” คือ ความแปรปรวนของสภาพอากาศเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอย่างไม่มีท่าทีว่าจะควบคุมได้ อารยธรรมที่วิวัฒนาการไปข้างหน้าเรื่อยๆ กลับสร้างผลเสียให้กับโลกในความเร็วที่วิ่งตามไม่ห่างกันเท่าไหร่นัก และที่น่าเศร้าไปยิ่งกว่านั้นคือชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเป็นกลุ่มแรกๆ กลับกลายเป็นชุมชนที่มีส่วนต้องรับผิดชอบต่อภาวะโลกรวนน้อยที่สุดไปเสียอย่างนั้น ภาวะโลกรวนที่เกิดอยู่ในขณะนี้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ทั้งทำให้น้ำร้อนขึ้นและขยายตัว และยังทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย สองปัจจัยนี้ได้ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นทุกปีอย่างไม่มีทีท่าว่าจะชะลอลง ส่งผลให้ทุกเกาะทั่วโลกได้รับผลกระทบอันแสนสาหัสต่อสภาพความเป็นอยู่บนเกาะตามมา ซึ่งเกาะ Guda Maluyligal คือหนึ่งในนั้น ลุงพาไบและลุงพอล พวกเขาทั้งคู่เป็นผู้นำชุมชนจาก Guda Maluyligal เกาะแห่งหนึ่งบริเวณช่องแคบทอร์เรส (Torres Strait) ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นด่านหน้าในการรับมือกับผลกระทบจากภาวะโลกรวน และปัญหาการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล  ปัญหาที่ชาว Guda Maluyligal กำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้ คือ ระดับน้ำทะเลที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 3 เมตร นั่นหมายถึง … Continued

เพื่อลูกชายที่สูญเสีย เพื่อสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรม : อานา มาเรีย ซานโตส ครูซ (Ana Maria Santos Cruz) จากแม่ธรรมดาสู่นักเรียกร้องสิทธิมนุษยชน

ในบราซิลขณะนี้ ยังคงมีแม่คนหนึ่งกำลังเรียกร้องความยุติธรรมให้กับลูกชายผู้ล่วงลับของเธอ แรกเริ่มชีวิตของอานา ก็เหมือนชีวิตของใครหลายๆ คน เธอเป็นแม่ธรรมดาๆ คนหนึ่ง ผู้มีความสุขกับเสียงดนตรี และใช้เวลาว่างของเธอไปเที่ยวงานคอนเสิร์ตและอีเวนต์ต่างๆ กับลูกสาวในเมืองซัลวาดอร์ ประเทศบราซิล ลูกชายของเธอ เปโดร เฮนริค (Pedro Henrique) เป็นนักเคลื่อนไหวด้านความยุติธรรมทางเชื้อชาติและสิทธิมนุษยชน เขาได้จัดกิจกรรมชื่อ ‘การเดินเพื่อสันติภาพ’ ขึ้นในเมืองทูคาโน รัฐบาเฮีย ประเทศบราซิล เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีพื้นที่แลกเปลี่ยนพูดคุยกันเกี่ยวกับประเด็นความรุนแรงทางเชื้อชาติโดยเฉพาะความรุนแรงต่อคนผิวดำ ที่มักตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงโดยรัฐอยู่เสมอ ซึ่งรัฐบาเฮียที่จัดงานนี้เองก็เป็นรัฐที่มีจำนวนการเสียชีวิตของประชาชนจากความรุนแรงโดยตำรวจมากที่สุดในบราซิล การสร้างความตระหนักรู้ต่ออาชญากรรมโดยรัฐเหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้กับตำรวจอย่างมาก เปโดรต้องเผชิญการข่มขู่ โจมตีและสอดแนมอย่างหนักข้อจากทางรัฐเพียงเพราะเขายืนหยัดในสิทธิมนุษยชนที่คนทุกคนพึงมี เพียงเพราะเขากล้าลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวต่อต้านความอยุติธรรม ความรุนแรงที่รัฐทำกับเขาได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2018 ขณะกำลังนอนหลับอยู่ในบ้านของเขากับแฟนสาว เปโดรถูกยิงแปดนัดที่ศีรษะและลำคอโดยชายสวมฮูด 3 คน … Continued

El Conde: Vampirism, Neoliberalism, Fascism เมื่อจอมพลเผด็จการแห่งชิลีคือแวมไพร์กระหายเลือดมนุษย์

With Film Theorist Project, Vichakarn SmoPolSci *บทความนี้มีเนื้อหาที่เปิดเผยถึงตัวเนื้อเรื่องของหนัง El Conde ด้วยเขี้ยวเล็บอันแหลมคม พละกำลังมหาศาล ร่างกายที่คงกระพัน พร้อมผ้าคลุมชุดนายพลอันน่าเกรงขาม จอมพลออกุสโต ปิโนเชต์ (Augusto Pinochet) บินผงาดไปท่ามกลางค่ำคืนอันเงียบสงัดเหนือกรุงซันติอาโก (Santiago) แห่งชิลี เปรียบดั่งท่านเคานต์แดรกคูลาที่ออกตามล่าหาเหยื่อผู้โชคร้ายมาดับกระหายความหิวเลือดของมัน ใครจะคาดคิดกันได้ว่า อดีตผู้นำเผด็จการแห่งชิลีที่ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 2006 นั้น แท้จริงแล้วยังคงมีชีวิตอยู่ (หรือไม่?) และกำลังกลับมาออกอาละวาดเพื่อกินเลือดเนื้อผู้คนชาวชิลี สร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวอีกครั้งในรอบ 32 ปีตั้งแต่การถอยลงจากอำนาจของท่านนายพลในปี 1990 ! แต่ท่านผู้อ่านอย่าพึ่งได้ตื่นตระหนกกันไป ข้อความที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแต่อย่างใด แต่เป็นเนื้อเรื่องที่ได้เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่อง “El Conde” หรือในชื่อไทยว่า … Continued

ขอโทษ ขอโทษ ขอโทษ

ขอโทษปุ๊ปจบปั๊ป ? : ส่องแง่มุมต่าง ๆ ของการขอโทษ ผู้อ่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า ตั้งแต่เรามีลมหายใจและใช้ชีวิตอยู่เรื่อยมาตั้งแต่เด็กจนโต เราพูดคำว่า “ขอโทษ” ไปแล้วกี่ครั้ง แล้วทำไมเราถึง “ต้อง” ขอโทษในเรื่องที่เราพลั้งพลาดไปด้วย คำถามนี้เกิดขึ้นในตัวผู้เขียนในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งเราจะเห็นนักการเมืองต่างออกมาพูดขอโทษ ขอโทษ และก็ขอโทษ จนอาจนับได้ว่ากลายเป็นแม่พิมพ์ยอดฮิตผลิตซ้ำของเหล่านักการเมืองเวลาพวกเขาทำผิดหรือทำในสิ่งที่ไม่ดีลงไป กลายเป็นความเคยชินของคนโดยทั่วไปแล้วว่า “อ๋อ ก็ขอโทษแล้วก็ให้จบ ๆ ไป” จากวลีดังกล่าวซึ่งผู้เขียนได้ยินมานั้น คำถามก็ผุดขึ้นมาว่า แค่ทำหน้าเศร้า พูดว่าขอโทษ แล้วเรื่องก็จบอย่างง่ายดายเช่นนั้นหรือ และมองฉากทัศน์ถัดต่อไปว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำพลาดไปนั้นจะได้รับการเยียวยาหรือแก้ไขอย่างยั่งยืนได้อย่างไร การขอโทษคืออะไร และขอโทษทำไม แม้ในแวดวงวิชาการยังไม่มีความเห็นพ้องว่า “ขอโทษ” นั้นมีความหมายว่าอย่างไร แต่หากผู้เขียนย้อนกลับไปตอนยังเด็ก เมื่อเราทำผิดไป คุณครูก็มักจะให้เราพูดขอโทษและให้สัญญาว่าจะไม่ทำผิดเช่นนั้นอีก ในตอนนั้น … Continued

China’s AI Weapon Development : จับตากองทัพจีนในยุค AI และนัยสำคัญต่อความมั่นคงโลก

นอกจากอำนาจนำทางการเมืองและเศรษฐกิจของจีนที่กำลังผงาดขึ้นอย่างก้าวกระโดด สิ่งที่ประชาคมโลกกำลังหวั่นวิตกคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ รัฐบาลจีนขณะนี้มีกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (PLA) ที่กำลังวิจัยและพัฒนาระบบอาวุธขั้นสูงอย่างแข็งขัน โดยจีนให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการสร้างระบบอาวุธอัตโนมัติ ซึ่งเป็นอิสระจากการสั่งการของมนุษย์ (Autonomous weapons) รวมไปถึงระบบอาวุธอัจฉริยะ (Intelligentized weapons)  นอกจากนี้ จีนยังกระตือรือร้นในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี  AI เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางเรือและการจู่โจมทางท้องทะเล นำมาสู่การเปิดตัว “จาริ” (JARI) หรือเรือไร้คนขับลำแรกของโลก ที่สามารถปฏิบัติการโจมตีได้ทั้งทางน้ำและทางอากาศ การสร้างเรือลำนี้ชี้ให้เห็นเป็นนัยว่ารัฐจีนกำลังให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความมั่นคงทางทะเล โดยเฉพาะบริเวณทะเลจีนใต้ ทั้งยังสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของจีนในการรักษาผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้ด้วย อย่างไรก็ดี ความก้าวหน้าของระบบอาวุธขั้นสูงเหล่านี้ย่อมมีผลกระทบต่อสมดุลอำนาจทางการทหารและความมั่นคงของโลกในหลายแง่มุม อาทิ ในด้านความปลอดภัย กองทัพจีนอาจเร่งติดตั้งระบบอาวุธที่ยังไม่ผ่านการทดสอบหรือไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่อาจกระทบต่อสันติภาพระหว่างประเทศ ในด้านจริยธรรม แม้ว่าจีนจะยึดมั่นในหลักการ “AI for Good”  หรือ การใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อแก้ไขปัญหาสังคม … Continued