Uncle Pabai and Uncle Paul : ลมหายใจเฮือกสุดท้ายก่อนที่บ้านจะหายไปตลอดกาล

ภัยคุกคามโลก “ภาวะโลกรวน (Climate Change)” คือ ความแปรปรวนของสภาพอากาศเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอย่างไม่มีท่าทีว่าจะควบคุมได้ อารยธรรมที่วิวัฒนาการไปข้างหน้าเรื่อยๆ กลับสร้างผลเสียให้กับโลกในความเร็วที่วิ่งตามไม่ห่างกันเท่าไหร่นัก และที่น่าเศร้าไปยิ่งกว่านั้นคือชุมชนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเป็นกลุ่มแรกๆ กลับกลายเป็นชุมชนที่มีส่วนต้องรับผิดชอบต่อภาวะโลกรวนน้อยที่สุดไปเสียอย่างนั้น ภาวะโลกรวนที่เกิดอยู่ในขณะนี้ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ทั้งทำให้น้ำร้อนขึ้นและขยายตัว และยังทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย สองปัจจัยนี้ได้ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นทุกปีอย่างไม่มีทีท่าว่าจะชะลอลง ส่งผลให้ทุกเกาะทั่วโลกได้รับผลกระทบอันแสนสาหัสต่อสภาพความเป็นอยู่บนเกาะตามมา ซึ่งเกาะ Guda Maluyligal คือหนึ่งในนั้น ลุงพาไบและลุงพอล พวกเขาทั้งคู่เป็นผู้นำชุมชนจาก Guda Maluyligal เกาะแห่งหนึ่งบริเวณช่องแคบทอร์เรส (Torres Strait) ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นด่านหน้าในการรับมือกับผลกระทบจากภาวะโลกรวน และปัญหาการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล  ปัญหาที่ชาว Guda Maluyligal กำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้ คือ ระดับน้ำทะเลที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 3 เมตร นั่นหมายถึง … Continued

เพื่อลูกชายที่สูญเสีย เพื่อสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรม : อานา มาเรีย ซานโตส ครูซ (Ana Maria Santos Cruz) จากแม่ธรรมดาสู่นักเรียกร้องสิทธิมนุษยชน

ในบราซิลขณะนี้ ยังคงมีแม่คนหนึ่งกำลังเรียกร้องความยุติธรรมให้กับลูกชายผู้ล่วงลับของเธอ แรกเริ่มชีวิตของอานา ก็เหมือนชีวิตของใครหลายๆ คน เธอเป็นแม่ธรรมดาๆ คนหนึ่ง ผู้มีความสุขกับเสียงดนตรี และใช้เวลาว่างของเธอไปเที่ยวงานคอนเสิร์ตและอีเวนต์ต่างๆ กับลูกสาวในเมืองซัลวาดอร์ ประเทศบราซิล ลูกชายของเธอ เปโดร เฮนริค (Pedro Henrique) เป็นนักเคลื่อนไหวด้านความยุติธรรมทางเชื้อชาติและสิทธิมนุษยชน เขาได้จัดกิจกรรมชื่อ ‘การเดินเพื่อสันติภาพ’ ขึ้นในเมืองทูคาโน รัฐบาเฮีย ประเทศบราซิล เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีพื้นที่แลกเปลี่ยนพูดคุยกันเกี่ยวกับประเด็นความรุนแรงทางเชื้อชาติโดยเฉพาะความรุนแรงต่อคนผิวดำ ที่มักตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงโดยรัฐอยู่เสมอ ซึ่งรัฐบาเฮียที่จัดงานนี้เองก็เป็นรัฐที่มีจำนวนการเสียชีวิตของประชาชนจากความรุนแรงโดยตำรวจมากที่สุดในบราซิล การสร้างความตระหนักรู้ต่ออาชญากรรมโดยรัฐเหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้กับตำรวจอย่างมาก เปโดรต้องเผชิญการข่มขู่ โจมตีและสอดแนมอย่างหนักข้อจากทางรัฐเพียงเพราะเขายืนหยัดในสิทธิมนุษยชนที่คนทุกคนพึงมี เพียงเพราะเขากล้าลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวต่อต้านความอยุติธรรม ความรุนแรงที่รัฐทำกับเขาได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด ณ วันที่ 27 ธันวาคม 2018 ขณะกำลังนอนหลับอยู่ในบ้านของเขากับแฟนสาว เปโดรถูกยิงแปดนัดที่ศีรษะและลำคอโดยชายสวมฮูด 3 คน … Continued

El Conde: Vampirism, Neoliberalism, Fascism เมื่อจอมพลเผด็จการแห่งชิลีคือแวมไพร์กระหายเลือดมนุษย์

With Film Theorist Project, Vichakarn SmoPolSci *บทความนี้มีเนื้อหาที่เปิดเผยถึงตัวเนื้อเรื่องของหนัง El Conde ด้วยเขี้ยวเล็บอันแหลมคม พละกำลังมหาศาล ร่างกายที่คงกระพัน พร้อมผ้าคลุมชุดนายพลอันน่าเกรงขาม จอมพลออกุสโต ปิโนเชต์ (Augusto Pinochet) บินผงาดไปท่ามกลางค่ำคืนอันเงียบสงัดเหนือกรุงซันติอาโก (Santiago) แห่งชิลี เปรียบดั่งท่านเคานต์แดรกคูลาที่ออกตามล่าหาเหยื่อผู้โชคร้ายมาดับกระหายความหิวเลือดของมัน ใครจะคาดคิดกันได้ว่า อดีตผู้นำเผด็จการแห่งชิลีที่ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 2006 นั้น แท้จริงแล้วยังคงมีชีวิตอยู่ (หรือไม่?) และกำลังกลับมาออกอาละวาดเพื่อกินเลือดเนื้อผู้คนชาวชิลี สร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวอีกครั้งในรอบ 32 ปีตั้งแต่การถอยลงจากอำนาจของท่านนายพลในปี 1990 ! แต่ท่านผู้อ่านอย่าพึ่งได้ตื่นตระหนกกันไป ข้อความที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแต่อย่างใด แต่เป็นเนื้อเรื่องที่ได้เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่อง “El Conde” หรือในชื่อไทยว่า … Continued

ขอโทษ ขอโทษ ขอโทษ

ขอโทษปุ๊ปจบปั๊ป ? : ส่องแง่มุมต่าง ๆ ของการขอโทษ ผู้อ่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า ตั้งแต่เรามีลมหายใจและใช้ชีวิตอยู่เรื่อยมาตั้งแต่เด็กจนโต เราพูดคำว่า “ขอโทษ” ไปแล้วกี่ครั้ง แล้วทำไมเราถึง “ต้อง” ขอโทษในเรื่องที่เราพลั้งพลาดไปด้วย คำถามนี้เกิดขึ้นในตัวผู้เขียนในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งเราจะเห็นนักการเมืองต่างออกมาพูดขอโทษ ขอโทษ และก็ขอโทษ จนอาจนับได้ว่ากลายเป็นแม่พิมพ์ยอดฮิตผลิตซ้ำของเหล่านักการเมืองเวลาพวกเขาทำผิดหรือทำในสิ่งที่ไม่ดีลงไป กลายเป็นความเคยชินของคนโดยทั่วไปแล้วว่า “อ๋อ ก็ขอโทษแล้วก็ให้จบ ๆ ไป” จากวลีดังกล่าวซึ่งผู้เขียนได้ยินมานั้น คำถามก็ผุดขึ้นมาว่า แค่ทำหน้าเศร้า พูดว่าขอโทษ แล้วเรื่องก็จบอย่างง่ายดายเช่นนั้นหรือ และมองฉากทัศน์ถัดต่อไปว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำพลาดไปนั้นจะได้รับการเยียวยาหรือแก้ไขอย่างยั่งยืนได้อย่างไร การขอโทษคืออะไร และขอโทษทำไม แม้ในแวดวงวิชาการยังไม่มีความเห็นพ้องว่า “ขอโทษ” นั้นมีความหมายว่าอย่างไร แต่หากผู้เขียนย้อนกลับไปตอนยังเด็ก เมื่อเราทำผิดไป คุณครูก็มักจะให้เราพูดขอโทษและให้สัญญาว่าจะไม่ทำผิดเช่นนั้นอีก ในตอนนั้น … Continued

ส่องเทรนด์ Balletcore : หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เวียดนามกลายเป็นผู้นำทาง Fast Fashion

นับตั้งแต่อดีต ศิลปะการแสดงบัลเลต์นั้นเชื่อมโยงกับแฟชั่นของผู้คนมาอย่างยาวนาน ดีไซเนอร์ชื่อดังอย่าง คริสเตียน ลาครัวซ์ (Christian Lacroix) วิเวียน เวสต์วูด (Vivienne Westwood) และวาเลนติโน (Valentino) ก็เคยออกแบบชุดสำหรับการแสดงบัลเลต์ร่วมกัน ทว่าในปัจจุบัน มีเทรนด์แฟชั่นที่เรียกว่า “บัลเลต์คอร์” (Balletcore) ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในหลายพื้นที่บนโลกและมีการนำเสนอแฟชั่นดังกล่าวในสื่อโซเชียล อย่างไรก็ดี แฟชั่นดังกล่าวนี้ไม่ได้มีการเชื่อมโยงถึงนักบัลเลต์แต่อย่างใด จุดเริ่มต้นเทรนด์บัลเลต์คอร์ในปัจจุบันนั้นเริ่มโด่งดังจากการที่แบรนด์มิวมิว (Miu Miu) ได้ออกแบบรองเท้า “บัลเลต์แฟลตส์ (Ballet flats)”  ในคอลเลคชั่น Autumn / Winter 2022 ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับรองเท้าบัลเลต์ มียางยืดรัดเท้า ตกแต่งด้วยโบว์และทำมาจากผ้าซาติน การแต่งตัวแบบบัลเลต์คอร์ นั้นสามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็นการสวมเสื้อผ้าที่ดูเบาสบาย หรือไม่ก็เป็นเสื้อทรงคอร์เซ็ท จับคู่ด้วยกระโปรงพลิ้ว … Continued

เป็นคนพิการ ต้องพิสูจน์

: รัฐไทยกับการจัดสรรคุณภาพชีวิตให้แก่ “คน” พิการ ภายใต้ระบบราชการแบบไทยๆ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้พิการมากกว่า 4 ล้านคน (จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2565) แต่มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิการทั้งหมดไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้พิการตามกฎหมาย เพียงเพราะพวกเขา “พิการยังไม่พอ” แม้จะมีการออกกฎหมายและการให้สัตยาบันในปฏิญญารับรองสิทธิและศักดิ์ศรีของผู้พิการ ถึงกระนั้นพวกเขายังถูกมองว่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคำว่า “คน” ในสังคม รายงานการสำรวจความพิการ พ.ศ. 2565 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับองค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ระบุว่า ในไทยมีผู้พิการกว่า 4.19 ล้านคน หรือคิดเป็น 6% ของประชากรทั้งหมด และมีเพียง 42.6% ของผู้พิการทั้งหมดเท่านั้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนคนพิการ พวกเขาเหล่านี้จะได้สิทธิ์รับเบี้ยความพิการแค่ราว 800-1,000 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตาม มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนของผู้พิการที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนนั้นไม่ต้องการขึ้นทะเบียนเป็นผู้พิการ ซึ่งอาจเป็นเพราะขั้นตอนทางเอกสารที่ยุ่งยาก … Continued

 เมื่อการ rebranding จาก “Twitter” สู่ “X” สะท้อนถึงสังคมที่เอียงขวา

ช่วงปลายเดือนกรกฏาที่ผ่านมา อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ซีอีโอบริษัท     เทสลา (Tesla) และอภิมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ได้สร้างปรากฏการณเสียงแตกในโลกออนไลน์ด้วยการเผยโฉมโลโก้ “X” ซึ่งจะมาแทนที่โลโก้นกสีฟ้าเดิมของทวิตเตอร์ การตัดสินใจดังกล่าวส่งผลให้ผู้ใช้ทวิตเตอร์ ต่างพากันรัวความคิดเห็นของตัวเองผ่านกล่องข้อความ 280 ตัวอักษรเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนกันถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นกิจวัตรที่ปรากฏให้เห็นได้บ่อยครั้งมากขึ้นหลังจากที่อีลอนเข้าซื้อกิจการทวิตเตอร์ด้วยเม็ดเงินมหาศาลกว่า 44 พันล้านดอลลาร์หรือราว 1.7 ล้านล้านบาท เมื่อปีที่ผ่านมา   อีลอนเปิดเผยเหตุผลของการรีแบรนดิ้งครั้งนี้ว่า “การเปลี่ยนโลโก้ของทวิตเตอร์จากเดิมทีที่เป็นตัวการ์ตูนนกสีฟ้าให้กลายเป็นตัวอักษร “X” ที่มีทั้งสีขาวและสีดำในโลโก้ ก็เพราะว่าพยัญชนะ “X” สื่อถึง “ความไม่สมบูรณ์แบบ (imperfection) ที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์”   ด้านเสียงสะท้อนในโลกออนไลน์เสนอว่าความหมายของตัวอักษร “X” มีความยึดโยงถึงนวัตกรรมและความก้าวหน้า บ้างก็ว่าตัวแปร … Continued

หนี้ครัวเรือนไทย

หนี้ครัวเรือนไทย ระเบิดทางเศรษฐกิจไทยที่รัฐบาลต้องเก็บกู้อย่างเร่งด่วน? หนี้ครัวเรือนไทยทำไมถึงเป็นเรื่องใหญ่? หนี้ครัวเรือน คือ เงินที่บุคคลธรรมดากู้ยืมจากสถาบันทางการเงินทั้งในเเละนอกระบบเพื่อนำไปลงทุนในธุรกิจหรือการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และส่วนใหญ่เกิดจากการใช้จ่ายเป็นจำนวนมากกว่ารายได้ที่ได้รับ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา . หนี้สินภาคครัวเรือนไทยอยู่ที่ระดับ 90.6% ของ GDP อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้ไม่ได้น่าเป็นห่วงสักเท่าไร เพราะมีอีกหลายประเทศในโลกที่มีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงกว่านี้ เช่น เกาหลีใต้ เเละเเคนาดา . สิ่งที่น่าเป็นห่วงคืออะไร? สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งของหนี้จำนวนเท่านี้ คือ หนี้ส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืมที่ไม่ใช่การลงทุน (กู้ยืมแล้วไม่ก่อให้เกิดรายได้) คิดเป็นจำนวนถึง 72% ของหนี้ทั้งหมด ซึ่งมีเเนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนี้ส่วนนี้กว่าครึ่งคือหนี้จากการซื้อบ้านเเละอีก 1 ใน 3 คือหนี้จากการซื้อรถ ซึ่งต่างจากช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่หนี้สินส่วนใหญ่เป็นการกู้เพื่อการลงทุนในระบบเศรษฐกิจ . ปัญหาที่เกิดตามมาคือการที่ครัวเรือนไม่มีศักยภาพที่จะชำระหนี้ทั้งเงินต้นเเละดอกเบี้ยได้ทันกำหนด … Continued